วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2567 เวลา 13.39 น. ที่ห้องประชุมร่มเกล้า ชั้น 3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม นายสมชาย แสนลัง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เป็นประธานการประชุมคณะทำงานด้านการสื่อสารความเสี่ยงและภัยสุขภาพ ตามมาตรฐาน JEE/IHR 2005 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม เพื่อประเมินตนเอง และจัดเตรียมหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องตามมาตรฐาน JEE/IHR 2005 (ประเมินปี 2567) ด้านการสื่อสารความเสี่ยง 3 ตัวชี้วัด คือ 1) ระบบการสื่อสารความเสี่ยง และการมีส่วนร่วมกับชุมชนสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน 2) การสื่อสารความเสี่ยง และ 3) การมีส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานด้านการสื่อสารความเสี่ยงให้ได้ตามมาตรฐานระดับจังหวัด และเขตสุขภาพที่ 8

        นายสมชาย แสนลัง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม กล่าวว่า คณะทำงานด้านการสื่อสารความเสี่ยงและภัยสุขภาพฯ ได้ร่วมกันประเมินตนเองตามเกณฑ์การประเมินการดำเนินงานการสื่อสารความเสี่ยงและการมีส่วนร่วมกับชุมชน (Risk Communication and community engagement) สำหรับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ปี 2567 รวม 15 หัวข้อ ประกอบด้วย 1) มีกลไก แผนงาน โครงสร้าง แนวทางหรือกิจกรรมด้านการสื่อสารความเสี่ยงและการมีส่วนร่วมกับชุมชน สำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน 2) มีการดำเนินงานตามแผนด้านการสื่อสารความเสี่ยงและการมีส่วนร่วมกับชุมชนสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน 3) มีทรัพยากรสนับสนุนการดำเนินงานด้านการสื่อสารความเสี่ยง และการมีส่วนร่วมกับชุมชนสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน 4) มีการทบทวนการเตรียมความพร้อมและการตอบโต้ด้านการสื่อสารความเสี่ยงและการมีส่วนร่วมกับชุมชนสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน 5) มีระบบข้อมูลทางสังคมและระบาดวิทยา ทรัพยากรและบูรณาการสื่อสารความเสี่ยงจากทุกภาคส่วน 6) มีกลไกประสานงานการสื่อสารความเสี่ยงในสถานการณ์ฉุกเฉิน 7) มีการดำเนินงานการสื่อสารความเสี่ยงและการจัดการข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อทั่วไป และสื่อออนไลน์ 

        8) มีการแต่งตั้ง และฝึกอบรมโฆษกของหน่วยงาน เพื่อทำหน้าที่สื่อสารความเสี่ยงแก่สาธารณะ 9) มีการสื่อสารความเสี่ยงเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายและหลากหลายช่อทาง 10) มีระบบเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการสื่อสารความเสี่ยง 11) มีกลไกและกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสื่อสารความเสี่ยง 12) มีการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครและเครือข่ายการสื่อสารความเสี่ยงในสถานการณ์ฉุกเฉิน 13) มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสาร แจ้งเตือน และรับฟังความคิดเห็นของชุมชน โดยการประสานงานและมีส่วนร่วมกับชุมชน 14) ชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และภาคประชาสังคม ร่วมวางแผน ออกแบบและดำเนินงานตามแผนรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉิน และ 15) มีระบบข้อมูลพฤติกรรมทางสังคม และการรับรู้และความเข้าใจข้อมูลข่าวสาร 
    
        “จากการประเมินตนเอง ได้ข้อสรุปผลคะแนน 4 คะแนน อยู่ในเกณฑ์มีสมรรถนะที่ประจักษ์และยั่งยืน โดยจะรวบรวมเอกสารหลักฐานการประเมินจัดส่งให้กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี ทั้งนี้ที่ประชุมได้มอบหมายกลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข เพิ่มเติมรายชื่อคณะทำงานกลุ่มภารกิจสื่อสารความเสี่ยง ในคำสั่งคณะกรรมตามระบบบัญชาการเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขฯ ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (Emergency Operation Center: EOC) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ให้ครอบคลุมทุกโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ และจัดทำคำสั่งแต่งตั้งโฆษก (เพิ่มเติม) ในคำสั่งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข รวมถึงการประสานขอรายชื่อบุคลากจากกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเป็นคณะทำงานฯ พร้อมมอบหมายให้รวบรวมเอกสารหลักฐานให้กับฝ่ายเลขานุการ เพื่อจัดส่งภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 นอกจากนี้ ยังกำหนดให้มีการประชุมคณะทำงานเพื่อกำกับติดตามเอกสารหลักฐานประกอบตามแบบฟอร์มมาตรฐาน JEE/HIR อย่างต่อเนื่อง และให้นำมติที่ประชุมการพัฒนาและดำเนินงานด้านการสื่อสารความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพ เสนอในที่ประชุมระดับผู้บริหารต่อไป” นายสมชาย แสนลัง กล่าว

 



   
   


View 83    08/03/2567   ข่าวรอบรั้วภูมิภาค    สำนักสารนิเทศ