โรงพยาบาลเสนา เข้าร่วมงานวิ่ง CPF&KASETPHAND RUN 2024 เยือนถิ่นออเจ้า บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ไทย
- โรงพยาบาลเสนา
- 20 View
- อ่านต่อ
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.00 น.นายแพทย์ธวัชชัย ปานทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพะเยา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารครั้งที่ 2/2567 ก่อนเข้าวาระการประชุม มีการไหว้พระสวดมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคล และมอบใบประกาศนียบัตรแสดงความชื่นชมกับหน่วยงาน ER, คัดกรอง, ประชาสัมพันธ์ และเวชระเบียน ที่ปฏิบัติงานสนับสนุนนโยบายการดำเนินงาน Care D Plus และประธานแจ้งที่ประชุมทราบ 1.วันที่ 22 กุมภาพันธ์ เป็นวันครบรอบ 67 แห่งการก่อตั้ง รพ.พะเยา กิจกรรมช่วงเช้าเวลา 07.00 น.พิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 9 รูป เวลา 09.00 น.พิธีเปิดป้ายกองทุนมูลนิธิโรงพยาบาล เรียนเชิญท่านผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธาน วัตถุประสงค์ เพื่อบริการพระสงฆ์อาพาธตามมาตรฐานและฝากประชาสัมพันธ์ กองทุนมูลนิธิโรงพยาบาล ด้วย 2.การประชุม ครม.สัญจร ระหว่างวันที่ 18-19 มีนาคม 2567 ท่านนายกรัฐมนตรีและคณะ ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ และ ดูเรื่องอาคารที่ทรุดโทรม ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จะเข้าโรงพยาบาลพะเยา วันที่ 19 มีนาคม 2567 หลังจากการประชุมสัญจรช่วงเช้าเสร็จ 3.ติดตามนโยบาย บัตรประชาชนใบเดียว มอบหมายให้ นายแพทย์ไกรรัตน์ ดูแลและเตรียมพร้อม เริ่ม kick off 1 เมษายนนี้ 4.คลินิกทานตะวัน ฝากประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ พร้อมให้ความรู้ประชาชนด้วย และฝากประชาสัมพันธ์ ขอเชิญชวนประชาชนทุกท่าน เข้าร่วม Application Are You Ok ที่ใช้ในการดูแล ติดตามผู้ป่วยที่มีปัญหาพฤติกรรมการพยายามฆ่าตัวตายในเบื้องต้น และเป็นช่องทางหนึ่งในการเข้าถึง และติดตามผู้ป่วยให้อยู่ในระบบการรักษา ถือเป็นช่องทางสื่อสารที่มีประโยชน์กับผู้ป่วยมาก 5.รณรงค์ลดอุบัติเหตุ ฝาก ER ดูสถานที่ ๆ เกิด หากพบเห็นพื้นที่ ๆ ไฟฟ้าไม่สว่างแจ้งพื้นที่นั้น ๆ จัดการ เพื่อจะได้ลดการเกิดอุบัติเหตุขึ้น 6.ขอแสดงความยินดีกับ แพทย์หญิงวิราวรรณ ศรีงามวงศ์ รับคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2567 7.ฝากทีมและเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงาน เข้าช่วยดูแลคนไข้ สร้างความสัมพันธ์อันดี ไม่ต้องรอให้ผู้ป่วยเข้ามาสอบถาม เพื่อให้การสื่อสารตรงกัน ลดความไม่เข้าใจ ลดข้อร้องเรียน หากพบความเสี่ยงให้แจ้งคุณวิโรจน์ (ดักแด้) และฝาก หัวหน้า IPD มอบหมายเจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติงาน Care D+ อย่างน้อย 1 คน ในช่วง lunch out การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในกลุ่มเสี่ยง 608 ต้องดำเนินการตลอด หากติดเชื้ออาจมีอาการรุนแรงและเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูง จึงจำเป็นต้องได้รับวัคซีนป้องกันโควิด 19 โดยเร็ว โควิด 19 ได้เข้าสู่โรคประจำถิ่น แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่พบโรคอีก ยังคงมีผู้ป่วยมารับยาอย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อ “ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน”ยังคงมาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างเคร่งครัด
กันต์กนิษฐ์ ทองธนพัฒน์ธาดา ประชาสัมพันธ์ชำนาญงาน ภาพ/ข่าว