ทีม BS TAKOLAR จากโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วป่า ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เป็นตัวแทนเข้าประกวด DANCERCISE ระดับประเทศ ประจำปี 2568
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา
- 24 View
- อ่านต่อ
สสจ.อำนาจเจริญ เปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Public Health Emergency Operation Center: PHEOC) กรณี หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5)
วันนี้( 2 กุมภาพันธ์ 2567 ) เวลา 13.00 น. นายแพทย์ปฐมพงศ์ ปรุโปร่ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ แจ้งการเปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Public Health Emergency Operation Center: PHEOC) กรณี หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) จังหวัดอำนาจเจริญ ครั้งที่ 1/2567 โดยมีนายวุฒิพงษ์ สินทรัพย์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด หัวหน้ากลุ่มงานใน สสจ./ ผอ.รพ. /สสอ.ทุกอำเภอ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 31 คน เข้าร่วมประชุมผ่านทระบบออนไลน์ ณ ห้องประชุมคณาพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ
นายแพทย์ปฐมพงศ์ ปรุโปร่ง กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์และแนวโน้มฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) จังหวัดอำนาจเจริญ ช่วง 7 วันย้อนหลัง (วันที่ 27 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2567) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง 9.7 – 65.7 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร โดยมีค่าเกินมาตรฐาน (37.5 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) จำนวน 2 วัน ได้แก่ วันที่ 1 และ 2 กุมภาพันธ์ 2567 มีค่าเฉลี่ยรายวันเท่ากับ 45 และ 65.7 ไมโครกรัม / ลูกบาศก์เมตร คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ และมีแนวโน้มค่าความเข้มข้นฝุ่นละอองเพิ่มมากขึ้น โดยเข้าเกณฑ์การเปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Public Health Emergency Operation Center : PHEOC) กรณี หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก เมื่อ PM2.5 อยู่ในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ค่า PM2.5 มากกว่า 37.5 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน
ในการนี้ จึงเปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Public Health Emergency Operation Center: PHEOC) กรณี หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) จังหวัดอำนาจเจริญ ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติ โดยมีข้อสังการ 7 ประการ ดังนี้
1. เฝ้าระวังและแจ้งเตือนสถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ
2. เตรียมความพร้อมในการดูแลและป้องกันสุขภาพ
3. การเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพ
4. จัดกิจกรรมหน่วยงานสาธารณสุขให้เป็นองค์การต้นแบบองค์กรลดฝุ่นละออง
5. สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการใช้ พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
6. รายงานสถานการณ์ทุกวัน