อย. ชวนส่งความสุขเพื่อสุขภาพ ลดโรค NCDs เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพเป็นของขวัญปีใหม่
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- 56 View
- อ่านต่อ
วันนี้ (15 ธ.ค.66) ณ ด่านเก็บเงินค่าผ่านทางพิเศษบางแก้ว ทางพิเศษกาญจนาภิเษก จังหวัดสมุทรปราการ นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมเป็นประธานในการฝึกซ้อมแผนการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศด้วยสถานการณ์เสมือนจริง โดยเป็นการสมมติ สถานการณ์อุบัติเหตุรถชนกันมีผู้บาดเจ็บจำนวนหลายราย และมีการร้องขอการนำส่งทางเฮลิคอปเตอร์จากจุดเกิดเหตุไปยังโรงพยาบาล ซึ่งการช่วยเหลือเป็นการบูรณาการกันระหว่างทีมกู้ภัยของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉินของจังหวัดสมุทรปราการ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และกองบินตำรวจ
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า งานวันนี้เป็นไปตามนโยบายยกระดับ ๓๐ บาท พลัส ของกระทรวงสาธารณสุข ที่มุ่งให้ประชาชนได้รับการบริการการแพทย์ฉุกเฉินอย่างมีมาตรฐาน ซึ่งได้ดำเนินการให้เกิด Quick Win ใน ๑๐๐ วัน ด้วยนโยบายหลายประการ หนึ่งในนโยบายดังกล่าวคือ One Region One Sky doctor หรือ (OROS) ในการช่วยเหลือประชาชนและนักท่องเที่ยวปลอดภัยในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินด้วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินด้วยอากาศยานซึ่งจะทำให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงสถานะทางสังคม เศรษฐกิจ หรือสิทธิการรักษาพยาบาล ทำให้การปฏิบัติการฉุกเฉิน
ภายใต้หลักการคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยฉุกเฉิน ในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึง
เท่าเทียม มีคุณภาพ มาตรฐาน อีกทั้งยังสร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการของการ
ทางพิเศษอีกด้วย
ร.อ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า การแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศด้วยเฮลิคอปเตอร์ หรือ HEMS เป็นสิ่งที่ สพฉ. พัฒนาให้ประเทศไทยมีระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศเทียบเท่าต่างประเทศเช่นในอเมริกาหรือยุโรป ซึ่งใช้เฮลิคอปเตอร์ลงจอดที่จุดเกิดเหตุและนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทำให้ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทางและช่วยลดระยะเวลา เพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉิน โดย สพฉ. ได้ทำการอบรมทีมแพทย์จากโรงพยาบาลในเขตสุขภาพต่างๆทั่วประเทศ ให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติงานบนอากาศยาน และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆที่มีอากาศยาน อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ความร่วมมือให้ใช้อากาศยานเมื่อมีการร้องขอ โดย ผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดใดทั้งสิ้น เนื่องจากใช้งบประมาณจากกองทุนการแพทย์ฉุกเฉินในการจ่ายค่าชดเชยการปฎิบัติการ สำหรับการฝึกซ้อมร่วมกับการพิเศษในวันนี้ จะก่อให้เกิดความเข้าใจและเรียนรู้วิธีการปฏิบัติการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินบนทางด่วน หากการส่งต่อด้วยรถพยาบาลอาจเกิดความล่าช้าก็สามารถที่จะร้องขออากาศยานมาให้การช่วยเหลือได้
**********
กลุ่มพัฒนาและสื่อสารองค์การ
สพฉ. โทร. 0819891669