สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี มีพันธกิจหลักในการให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยเด็กกลุ่ม โรคยุ่งยากซับซ้อนระดับตติยภูมิและสูงกว่าจากทั่วประเทศ โดยประมาณการให้บริการผู้ป่วยนอกปีละ ๓๗๐,๐๐๐ ราย ผู้ป่วยในปีละ ๑๗,๐๐๐ ราย ผ่าตัดปีละ ๕,๐๐๐ ราย ในทารกและเด็กพิการแต่กำเนิด เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่สถาบันฯ มีบุคลากรการแพทย์ที่มีความชำนาญรองรับและมีการถ่ายทอดความรู้สะสมจากรุ่นสู่รุ่น ประกอบกับวิทยาการและเครื่องมือที่ทันสมัยและชี้นำเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาสุขภาวะเด็กของประเทศได้ อีกทั้งมีผลงานวิจัยในทุกอนุสาขาด้านโรคเด็กและความร่วมมือในระดับนานาชาติมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยความพร้อมที่จะผลักดันความร่วมมือทางการแพทย์  สนองนโยบายขับเคลื่อน การสร้างความสัมพันธ์กับเครือข่าย คู่ความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ อีกด้วย

วันนี้ (9 สิงหาคม 2566) นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การประชุมปีนี้ถือว่าเป็นการริเริ่มการบูรณาการการขับเคลื่อนการดูแลรักษาโรคเด็กระดับชาติ (Service Plan) ด้านแม่และเด็กในเขตสุขภาพ และยังคงมุ่งมั่นจะส่งเสริมให้มีการพัฒนาต่อยอดให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ การประเมินความคุ้มค่าและการตรวจรักษาแบบใหม่ (Precision Child Health) เพื่อนำผลการศึกษาวิจัยส่งมอบต่อผู้กำหนดนโยบายและผลักดันให้เกิดการบริการทางการแพทย์ เข้าไปสู่ชุดสิทธิประโยชน์ในระบบสุขภาพของประเทศ เพื่อให้คนไทยจะได้รับบริการสุขภาพอย่างเหมาะสม รวมถึงมุ่งเน้นความร่วมมือทางวิชาการและพัฒนาการดูแลรักษาสุขภาพเด็กกับเครือข่ายสุขภาพระดับชาติและนานาชาติ เพื่อต่อยอดให้เกิดการขยายผลและความร่วมมือทางวิชาการด้านโรคเด็กระดับชาติ ครั้งนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เป็นการจุดประกายความคิด เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรในการส่งเสริมสุขภาพและดูแลรักษาผู้ป่วยเด็ก อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาด้านระบบบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข ที่มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาและส่งเสริมสุขภาพประชาชนโดยถ้วนหน้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

                   ปัจจุบัน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติฯ ร่วมขับเคลื่อนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) ด้านแม่และเด็ก ในเขตสุขภาพและยังคงมุ่งมั่นจะส่งเสริมให้มีการพัฒนาต่อยอดให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ การประเมินความคุ้มค่าและการตรวจรักษาแบบใหม่ (Precision Child Health) เพื่อนำผลการ

 

ศึกษาวิจัยส่งมอบต่อผู้กำหนดนโยบายและผลักดันให้เกิดการบริการทางการแพทย์ เข้าไปสู่ชุดสิทธิประโยชน์ในระบบสุขภาพของประเทศ เพื่อให้คนไทยจะได้รับบริการสุขภาพอย่างเหมาะสม รวมถึงมุ่งเน้นความร่วมมือทางวิชาการและพัฒนาการดูแลรักษาสุขภาพเด็กกับเครือข่ายสุขภาพระดับชาติและนานาชาติ เพื่อต่อยอดให้เกิดการขยายผลและความร่วมมือทางวิชาการด้านโรคเด็กระดับชาติต่อไป 

                        ดังนั้นสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี  หน่วยงานสังกัดกรมการแพทย์ที่ให้บริการส่งเสริมสุขภาพการเจริญเติบโตและพัฒนาการ การป้องกันโรค และให้การรักษาโรค โดยแพทย์เฉพาะทางด้านโรคเด็กทุกสาขา และเป็นสถานที่ให้การรักษาในระดับตติยภูมิที่ส่งต่อมาจากทั่วประเทศ  จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นและเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมบูรณาการการขับเคลื่อนดูแลรักษาโรคเด็กระดับชาติ  ในนามกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขต่อไป

วันนี้ (9 สิงหาคม 2566) นายแพทย์อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า ในปีนี้สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีได้ดำเนินการจัดประชุมสัมมนาวิชาการประจำปีกุมารเวชศาสตร์ ในชื่อเรื่อง “Transforming Pediatric Healthcare: Challenges and Opportunities”   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านการดูแลรักษาโรคเด็กให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้เกี่ยวข้อง สร้างเครือข่ายการดูแลรักษาด้านโรคเด็กอย่างเป็นรูปธรรม พัฒนารูปแบบแนวทางการให้บริการรักษาโรคเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความเข้มแข็งกับเครือข่ายในส่วนภูมิภาคและพัฒนาความร่วมมืออย่างมีคุณภาพ  ตลอดจนเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิชาการด้านสุขภาพเด็ก เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานของตน  และสร้างความตื่นตัวในการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ โดยมีผู้เข้าประชุมในห้องประชุม จำนวน 190 คน แบบประชุมทางไกล จำนวน 263 คน 

               การสัมมนาครั้งนี้ ประกอบด้วยการบรรยาย อภิปรายปัญหาและการนำเสนอผลงานทางวิชาการ โดยผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ กุมารแพทย์   แพทย์ทั่วไป  พยาบาล  ทันตแพทย์ เภสัชกร และนักวิชาการสาธารณสุขจากเขตสุขภาพ13 เขตสุขภาพ โดยมีรูปแบบการจัดประชุมแบบ Hybrid การบรรยายได้รับเกียรติจากวิทยากรกรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลรามาธิบดี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 

โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ตะวันฉาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงพยาบาลลำปาง โรงพยาบาลชลบุรี สถาบันพยาธิวิทยา  และจากสถาบันที่ได้ลงนาม  MOU ร่วมกับสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เช่น Shikoku Medical Center for Children and Adults, Hospital Rehabilitasi Cheras, Malaysia, Sibu Hospital, Malaysia , Philippine General Hospital, Philippines, Vietnam National Children's Hospital, Vietnam, National University of Singapore, Singapore โรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์พร้อมทั้งผู้แทนเขตสุขภาพในด้านทารกแรกเกิด ด้านพัฒนาการเด็กและด้านโรคหัวใจในเด็ก

ข้อมูลจาก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์

วันที่ 9 สิงหาคม 2566



   


View 228    09/08/2566   ข่าวในรั้ว สธ.    สำนักสารนิเทศ