เดชอิศม์ ปลื้ม ไทยได้รับ ‘เมืองสุขภาพดี’ สี่แห่งจากองค์การอนามัยโลก มอบกรมอนามัยพัฒนารูปแบบต่อเนื่องเพื่อขยายผล หวังสร้างสุขภาพดีทั่วเมืองไทยเป็นของขวัญปีใหม่
- กรมอนามัย
- 613 View
- อ่านต่อ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย ส้วมสาธารณะทั่วประเทศผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับประเทศ Health Accessibility Safety (HAS) จำนวน 5,519 แห่ง หรือร้อยละ 76.91 โดยพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 2,482 แห่ง ผ่านมาตรฐาน 1,861 แห่ง หรือร้อยละ 74.98 พร้อมมอบประกาศนียบัตร และมอบป้าย “HAPPY TOILET ส้วมสะอาดได้มาตรฐาน”
วันนี้ (7 มิถุนายน 2566) นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เป็นประธานในพิธีลงนามมอบประกาศนียบัตร และมอบป้าย “HAPPY TOILET ส้วมสะอาดได้มาตรฐาน” ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ว่า ตามที่กรมอนามัย ได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง กรมที่ดิน เพื่อพัฒนาส้วมสาธารณะในสำนักงานที่ดินทั่วประเทศ ไปเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมาเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาส้วมสาธารณะของประเทศไทย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรคลดการระบาดของโรคติดต่อ และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ โดยกำหนดเป็นเกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ Health Accessibility Safety (HAS) ซึ่งได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายส้วมสาธารณะในสถานที่ต่างๆ ทั้ง 12 ประเภท เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงส้วมสะอาดในทุกสถานที่รองรับการเป็นสังคมเมือง ส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทย
นายแพทย์อรรถพล กล่าวต่อไปว่า เกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ Health Accessibility Safety (HAS) ประกอบด้วย 1) สะอาด (Health) หมายถึง ส้วมจะต้องได้รับการดำเนินการให้ถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitation Conditions) เช่น ห้องส้วมและ สุขภัณฑ์ทั้งหมดจะต้องสะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น มีวัสดุ อุปกรณ์ บริการ เช่น น้ำสะอาด สบู่ล้างมือ กระดาษชำระ เพียงพอ และมีสภาพแวดล้อมสวยงาม ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้ใช้ส้วม 2) เพียงพอ หรือ สะดวก (Accessibility) หมายถึง ต้องมีส้วมให้เพียงพอแก่ความต้องการ ของผู้ใช้รวมถึงผู้พิการ ผู้สูงอายุและหญิงมีครรภ์ โดยกำหนดให้ทุกสถานที่ต้องมีส้วมเสมอภาคอย่างน้อย 1 ห้อง 3) ปลอดภัย (Safety) หมายถึง ผู้ใช้บริการจะต้องปลอดภัยขณะใช้ส้วม เช่น มีแสงสว่างพอเพียง พื้นแห้ง แยกเพศชาย หญิง สถานที่ตั้งส้วมไม่เปลี่ยว เป็นต้น และส้วมที่ดีนั้น ตัวเรือนส้วม หัวส้วม บ่อกักเก็บอุจจาระ ท่อระบายอากาศ บ่อซึม ต้องไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีน้ำขังบริเวณส้วม พื้นส้วมสะอาด ทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย ภายในห้องส้วมมีการระบายอากาศดี มีน้ำสำหรับทำความสะอาดส้วม มีสบู่ล้างมือ สามารถป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ที่สำคัญต้องอยู่ห่างจากแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 30 เมตร
“ทั้งนี้ กรมอนามัยจึงได้จัดพิธีมอบประกาศนียบัตร และมอบป้าย HAPPY TOILET ส้วมสะอาดได้มาตรฐาน ให้แก่สำนักงานที่ดินพื้นที่กรุงเทพมหานครและสาขา จำนวน 17 แห่ง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการมารับบริการ สำหรับผลการตรวจประเมินรับรองมาตรฐานส้วมสาธารณะทั่วประเทศ” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
***
กรมอนามัย / 7 มิถุนายน 2566