เดชอิศม์ ปลื้ม ไทยได้รับ ‘เมืองสุขภาพดี’ สี่แห่งจากองค์การอนามัยโลก มอบกรมอนามัยพัฒนารูปแบบต่อเนื่องเพื่อขยายผล หวังสร้างสุขภาพดีทั่วเมืองไทยเป็นของขวัญปีใหม่
- กรมอนามัย
- 613 View
- อ่านต่อ
กรมการแพทย์ โดยโรงพยาบาลโรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จังหวัดตรัง เผยว่าปัจจุบันเครื่องมือในการคัดกรองโรคผิวหนังที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูง และกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งเป็นสาเหตุให้หน่วยงานมีเครื่องมือไม่เพียงพอในการใช้งาน ส่งผลให้ขาดความแม่นยำในการวินิจฉัย ทำให้มีแนวคิดการประดิษฐ์นวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีราคาถูกกว่าเครื่องเดิมที่นำเข้าจากต่างประเทศถึง 10 เท่า โดยสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิในชุมชนสามารถจัดซื้อนำไปใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคได้ ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย นำไปสู่การแก้ปัญหาโรคผิวหนังของประเทศ ประชาชนมีสุขภาพดี มีความสุข และคุณภาพชีวิตที่ดี
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตยากร อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่าโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราเป็นปัญหาสำคัญของประชาชนในภูมิอากาศเขตร้อนชื้นโดยเฉพาะในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นปัจจัยสำคัญกระตุ้นก่อให้เกิดปัญหาโรคผิวหนังได้หลากหลาย
โดยบทบาทในการตรวจวินิจฉัย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการมีบทบาทหลักในการให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อที่ผิวหนังจากสิ่งส่งตรวจสำหรับการวินิจฉัยแยกโรคทางห้องปฏิบัติการ และการวินิจฉัยโดยแพทย์สาขาตจวิทยา โดยมีหลายวิธีในการตรวจหาเชื้อด้วยวิธีต่างๆ เพื่อการคัดกรองมีความสำคัญในการคัดกรองผู้ป่วยโรคผิวหนังจากรอยโรคในหลายๆ โรค และช่วยในการเก็บตัวอย่างโรคให้ตรงตำแหน่ง
นายแพทย์วรพล เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จังหวัดตรัง กล่าวเพิ่มเติมว่าโรงพยาบาลฯ ดำเนินการประดิษฐ์คิดค้นผลงานนวัตกรรมโคมไฟส่องเรืองแสง DMS SkT Smart Lamp (Department of Medical Services Skin Trang Smart Lamp) ที่สามารถคัดกรองโรคผิวหนัง เพื่อนำมาทดแทนเครื่อง Wood lamp ซึ่งเป็นเครื่องที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ และมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 10 เท่า โดยมีประสิทธิภาพช่วยในการวินิจฉัยโรคกลากที่ศีรษะ โรคเกลื้อน และโรค Erythrasma ไม่แตกต่างกัน นับว่าเป็นนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์เป็นผลบวกสำหรับประชาชนผู้รับบริการ
และสามารถเป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ที่สามารถต่อยอดไปสู่ท้องตลาดได้ ในนามผู้อำนวยการโรงพยาบาลโรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จังหวัดตรัง ขอชื่นชมทนพญ.บัวเพชร ศรีเพชร, พท.กิติพันธ์ ขาวนิ่ม, และนายไชยพงษ์ โพธิ์แก้ว ที่ได้ศึกษาวิจัยค้นคว้า พัฒนาต่อยอดนวัตกรรมทางการแพทย์ให้เกิดประโยชน์กับประชาชน ผู้รับบริการ และหน่วยงานบริการสุขภาพในพื้นที่ และพร้อมสนับสนุนให้บุคลากรทุกท่านผลิตนวัตกรรม ผลงานวิชาการ และวิจัย เพื่อประโยชน์สำหรับประชาชนและผู้รับบริการต่อไป
ทั้งนี้ได้นำมอบนวัตกรรม "โคมไฟส่องเรืองแสง DMS SkT Smart Lamp ซึ่งเป็นนวัตกรรมเพื่อการคัดกรองโรคผิวหนัง"
ในโครงการสนับสนุนโรงพยาบาลชุมชนในมูลนิธิเทพรัตนเวชขานุกูล (โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ) ภายใต้ศูนย์ประสานงานหน่วยแพทย์อาสามูลนิธิเทพรัตนเวชขานุกูล ส่วนกลาง (กรมการแพทย์) ให้แก่โรงพยาบาลชุมชนในมูลนิธิเทพรัตนเวชชานุกูล สำหรับการนำไปใช้คัดกรองโรคผิวหนังในโรงพยาบาลชุมชนในมูลนิธิเทพรัตนเวชชานุกูล การปรับรูปแบบการรักษาโดยใช้นวัตกรรมการคัดกรองโรคเบื้องต้น ผู้ป่วยจะทราบผลตรวจภายใน 5 นาที ลดเวลาการรอคอย ลดต้นทุนการซื้อเครื่องมือ วัสดุทางการแพทย์และน้ำยาสารเคมี และให้การรักษาผู้ป่วยในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับการมารับบริการโรงพยาบาลเฉพาะทาง
ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องรอผลการวินิจฉัยโรคและได้รับการรักษาเร็วขึ้นคลายความกังวลต่อโรค จึงทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น
และทราบผลการวินิจฉัยในเวลาอันสั้นก็จะได้รับการรักษาโรคโดยทันที ลดระยะเวลารอคอยการฟังผล โรคหายเร็วขึ้น
และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารักษาโรค และการถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้นวัตกรรมให้เกิดประโยชน์ในโรงพยาบาลชุมชนในมูลนิธิเทพรัตนเวชชานุกูลเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาโรคผิวหนังระดับประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการสนับสนุนโรงพยาบาลชุมชนในมูลนิธิเทพรัตนเวชขานุกูล (โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ) ภายใต้ศูนย์ประสานงานหน่วยแพทย์อาสามูลนิธิเทพรัตนเวชขานุกูล ส่วนกลาง (กรมการแพทย์) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โรงพยาบาลโรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จังหวัดตรัง จึงได้มอบเครื่องมือดังกล่าว จำนวน 11 เครื่อง เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้สะดวกและรวดเร็ว เเละมีประสิทธิภาพเสมือนการตรวจกับแพทย์เฉพาะทางด้านโรคผิวหนังต่อไป
******************************************
#กรมการแพทย์ #โรงพยาบาลโรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จังหวัดตรัง #หมอผิวหนังชี้โคมไฟส่องเรืองแสง DMS SkT Smart Lamp สามารถคัดกรองโรคผิวหนัง
-ขอขอบคุณ-
1 มิถุนายน 2566