“ฉลองปีใหม่” เพลิน ระวังเสี่ยง NCDs พุ่ง กรมอนามัย แนะ 5 เทคนิค ปรับตัวหลังหยุดยาว
- กรมอนามัย
- 29 View
- อ่านต่อ
วันนี้ (27 เมษายน 2566) ที่โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ จ.นนทบุรี ดร.นายแพทย์อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ฝึกสอนการบรรจุและขนส่งตัวอย่างติดเชื้อ ว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ทำให้มีตัวอย่างสงสัยติดเชื้อจำนวนมากถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจวินิจฉัย โดยช่องทางการขนส่งตัวอย่างมีทั้งทางอากาศและทางบก และการขนส่งตัวอย่างติดเชื้อจะต้องได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์ เรื่อง การขนส่งตัวอย่างติดเชื้อของพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2558 เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่สู่สิ่งแวดล้อมตามแนวทางการปฏิบัติของกฎอนามัยระหว่างประเทศ
ทั้งนี้เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้จัดประชุมหารือและรับฟังข้อเสนอแนะ ร่วมกับ กรมควบคุมโรค กรมปศุสัตว์ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช สำนักงานการบินพลเรือน และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแนวทางปฏิบัติและคู่มือระดับชาติในการขนส่งตัวอย่างติดเชื้อของประเทศไทย เตรียมความพร้อมสำหรับจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับผู้ปฏิบัติงานจริงและการสร้างเครือข่ายในการติดต่อประสานงานในเรื่องการขนส่งตัวอย่างติดเชื้อในอนาคต โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินการจากองค์กรลดภัยคุกคาม (Defense Threat Reduction Agency ; DTRA) ภายใต้แผนงานลดภัยคุกคามทางชีวภาพ (Biological Threat Reduction Program ; BTRP) แห่งสหรัฐอเมริกา
ดร.นายแพทย์อาชวินทร์ กล่าวต่อว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 นี้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ได้รับงบประมาณจากศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข (TUC) ในการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านห้องปฏิบัติการ (Laboratory Workforce Development) เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเครือข่ายห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้งในประเทศและใน ASEAN จึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ สำหรับผู้ฝึกสอนการบรรจุและขนส่งตัวอย่างติดเชื้อ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตผู้ฝึกสอนและผู้ให้คำแนะนำแก่ห้องปฏิบัติการเครือข่ายของเขตสุขภาพทั้ง 13 เขตในพื้นที่ที่รับผิดชอบ และเสริมสร้างศักยภาพและความร่วมมือในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ โดยมีแนวทางการดำเนินงานการเสริมสร้างความเข้มแข็งของการป้องกันโรคติดต่อ แบบบูรณาการตามแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องการบรรจุ และขนส่งตัวอย่างติดเชื้อ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุและขนส่ง ตัวอย่างติดเชื้อ อีกทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายและยกระดับการเตรียมความพร้อมของห้องปฏิบัติการของเขตสุขภาพรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินจากโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
“การอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 15 แห่ง โดยมีระยะเวลา 2 วัน ตั้งแต่วันที่ 27-28 เมษายน 2566 การอบรมประกอบด้วย การบรรยายหลักการพื้นฐาน เรื่อง การจำแนกตัวอย่างติดเชื้อและการบริหารจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพ, การบรรจุหีบห่อตัวอย่างติดเชื้อสำหรับขนส่งทางอากาศ, การควบคุมคุณภาพการขนส่งตัวอย่างติดเชื้อ, สัญลักษณ์และการใช้สัญลักษณ์ในการขนส่งตัวอย่างติดเชื้อ, การลดการปนเปื้อนและนำหีบห่อกลับมาใช้ซ้ำ โดยมีทีมวิทยากร ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการบรรจุและขนส่งตัวอย่างติดเชื้อของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข และการบรรยายเรื่องกฎหมายและระเบียบปฏิบัติการขนส่งวัตถุอันตรายทางอากาศ โดยวิทยากรจากสถาบันการบินพลเรือน รวมทั้งมีการแบ่งกลุ่มเพื่อฝึกปฏิบัติการบรรจุหีบห่อตัวอย่างติดเชื้อ” ดร.นายแพทย์อาชวินทร์ กล่าว
*********** 27 เมษายน 2566