"สมศักดิ์" เปิดตัวระบบส่งต่อออนไลน์ MOPH Refer เป็นของขวัญปีใหม่ ช่วยลดภาระและเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ป่วย
- สำนักสารนิเทศ
- 465 View
- อ่านต่อ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมเปิดการประชุมระดับนานาชาติ “Asia-Pacific Youth Forum” เปิดเวทีให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการยกระดับแก้ไขปัญหาเอดส์ในเยาวชน นำไปสู่การยุติปัญหาเอดส์ให้หมดไปภายในปี 2573
วันนี้ (21 ตุลาคม 2565) ที่ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ กรุงเทพมหานคร ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นางเอกสิริ ปิณฑะรุจิ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ และ นายโทฟิก บักคาลิ รักษาการผู้อำนวยการ UNAIDS ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ร่วมเปิดการประชุม Asia-Pacific Youth Forum: Putting Young Key Populations first to end AIDS by 2030 โดยมี นพ.ปรีชา เปรมปรี รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้แทนเยาวชน และผู้แทนภาครัฐจากภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก 22 ประเทศ ได้แก่ ไทย บังกลาเทศ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา จีน ฟิจิ อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย มองโกเลีย เมียนมาร์ เนปาล ปากีสถาน ปาปัวนิวกีนี ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ ศรีลังกา ติมอร์-เลสเต และเวียดนาม เข้าร่วมประชุมทั้งแบบ on-site และ online รวม 75 คน
ดร.สาธิต กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานเกี่ยวกับโรคเอดส์ในด้านต่างๆ ทั้งการพัฒนานวัตกรรมการตรวจวินิจฉัย, ขยายการให้บริการให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะเยาวชนซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ, การขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำ การตีตรา และการเลือกปฏิบัติ, ผลักดันการมีส่วนร่วมของสังคมในการกำหนดนโยบายและการให้บริการในทุกระดับ เพื่อรับมือกับปัญหาโรคเอดส์และนำไปสู่การยุติปัญหาเอดส์
ให้หมดไปภายในปี 2573 ซึ่งจากข้อมูลของ UNAIDS พบว่าวัยรุ่นและเยาวชนทั่วโลกติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในเอเชียและแปซิฟิกเป็นกลุ่มวัยรุ่น นอกจากนี้ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ระบุว่า เยาวชน 1 ใน 20 คน ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุกปี
ดร.สาธิตกล่าวต่อว่า การประชุมวันนี้มุ่งเน้นที่จะรับฟังความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการยุติปัญหาเอดส์ ซึ่งในการประชุมเมื่อวานนี้ มีผู้แทนเยาวชนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกกว่า 22 ประเทศ ได้ร่วมกันสะท้อนปัญหาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมทั้งระดมความคิดเห็นเพื่อปิดช่องว่างและแก้ไขปัญหาเอดส์ในกลุ่มเยาวชน โดยมีข้อคิดเห็นที่น่าสนใจ อาทิ เสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความเป็นผู้นำของคนหนุ่มสาวในการตอบสนองต่อเอชไอวี, เน้นการสื่อสาร/รณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมเอชไอวี, สิทธิทางเพศและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์สำหรับเยาวชน, จัดให้มีการเข้าถึงบริการเอชไอวีอย่างเท่าเทียมและสะดวกรวมถึงในพื้นที่ชนบท, ปรับปรุงบริการให้ทันสมัย, ปฏิรูปความเชื่อเพื่อจัดการกับปัญหาการตีตราและการเลือกปฏิบัติในครอบครัวและสถานศึกษา, ลงทุนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนขององค์กรที่นำโดยเยาวชน เป็นต้น ขณะที่ผู้แทนจากภาครัฐที่ร่วมอภิปราย ได้แสดงความมุ่งมั่นและนำเสนอความพยายามในการปกป้องคนรุ่นใหม่ให้ปลอดภัยจากเชื้อเอชไอวีและผลกระทบอื่นๆ และมุ่งหวังว่าเครือข่ายเยาวชนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก จะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาเอดส์ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
************************************** 21 ตุลาคม 2565
**************************************