ปลัด สธ. สั่งตั้งศูนย์ EOC รับมือ "อหิวาต์" พร้อมให้การสนับสนุนทีมช่วย "เมียนมา" ควบคุมป้องกันโรค เข้มเฝ้าระวังจุดเสี่ยงในไทย
- สำนักสารนิเทศ
- 189 View
- อ่านต่อ
กระทรวงสาธารณสุข ระบุ ขณะนี้ประเทศไทยเตือนภัยโควิดระดับ 3 ต้องเข้ม COVID Free Setting ป้องกันตนเองสูงสุด ส่วน 3 ฉากทัศน์การแพร่ระบาดหลังปีใหม่จากโอมิครอน หากไม่ร่วมมือป้องกันอาจติดเชื้อสูงสุดวันละ 3 หมื่นคน เสียชีวิตวันละ 180 คน ข้อมูลผู้ติดเชื้อโอมิครอนของไทย 100 รายแรก พบครึ่งหนึ่งไม่มีอาการ อีกครึ่งอาการน้อย มีปอดอักเสบเล็กน้อย 7 ราย ไม่มีผู้ใส่ท่อช่วยหายใจและไม่มีเสียชีวิต เน้นดูแลรักษาที่บ้านและชุมชน
วันนี้ (27 ธันวาคม 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ และ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์โควิด 19 ฉากทัศน์การแพร่ระบาด และการปฏิบัติตัวของประชาชน โดย นพ.เกียรติภูมิกล่าวว่า วันนี้ประเทศไทยมีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายใหม่ 2,437 ราย รักษาหาย 3,845 ราย เสียชีวิต 18 ราย ผู้ป่วยอาการหนักลดลงต่อเนื่อง ส่วนผู้เดินทางมาจากต่างประเทศพบติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน 514 ราย ส่วนใหญ่อาการน้อยหรือไม่มีอาการ โดยพบอาการไอมากที่สุด 54% รองลงมาคือ เจ็บคอ และไข้ เมื่อให้ยาฟาวิพิราเวียร์ตั้งแต่ต้น อาการจะดีขึ้นใน 24-72 ชั่วโมง ขณะนี้มียาฟาวิพิราเวียร์สำรองประมาณ 15.6 ล้านเม็ด ประมาณการณ์ใช้ได้อย่างน้อย 2 เดือน และองค์การเภสัชกรรมสามารถผลิตเพิ่มเติมได้ถึง 60 ล้านเม็ด สำหรับเตียงรักษามี 1.7 แสนเตียง ปัจจุบันมีการใช้ 13.7% ทั้งนี้ ผู้ติดเชื้อโอมิครอนที่อาการไม่มากจะเน้นการดูแลที่บ้านและชุมชนเป็นหลัก
นพ.เกียรติภูมิกล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำระดับการเตือนภัยโควิด 5 ระดับ โดยพิจารณาจากความเสี่ยงของสถานการณ์ ความครอบคลุมการได้รับวัคซีน 2 เข็มในกลุ่ม 607 และการพบการระบาดแบบคลัสเตอร์ ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในระดับ 3 นอกจากนี้ ได้จัดทำฉากทัศน์เพื่อรับมือสถานการณ์โอมิครอน ซึ่งอาจเกิดได้ 3 รูปแบบ คือ 1.Least favourable ฉากทัศน์ที่ไม่อยากให้เกิด คือ การแพร่เชื้อเพิ่มขึ้น ฉีดวัคซีนได้ใกล้เคียงกับช่วงที่ผ่านมา ขณะที่การปฏิบัติตามมาตรการ UP และ VUCA ได้น้อยหรือไม่ปฏิบัติ การติดเชื้อจะสูงถึง 3 หมื่นรายต่อวัน เสียชีวิต 170-180 รายต่อวัน ใช้เวลาควบคุม 3-4 เดือน 2.Possible การแพร่เชื้อเพิ่มขึ้น ฉีดวัคซีนได้ใกล้เคียงกับช่วงที่ผ่านมา แต่มีการปฏิบัติตามมาตรการ UP และ VUCA ดี ผู้ติดเชื้ออาจอยู่ที่ 1.5-1.6 หมื่นรายต่อวัน จากนั้นค่อยทรงตัวและลดลง และ 3.Most favourable ฉากทัศน์ที่ดีที่สุด คือ ควบคุมการระบาดในประเทศได้ดี เร่งฉีดวัคซีนได้มากกว่าปกติ ร่วมกับมีการปฏิบัติตามมาตรการ UP และ VUCA เต็มที่และลดกิจกรรมรวมกลุ่ม อาจจะมีผู้ติดเชื้อ 1 หมื่นรายต่อวัน เสียชีวิต 60-70 รายต่อวัน และควบคุมโรคได้ภายใน 1-2 เดือน
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า จากการรวบรวมข้อมูลทั้งต่างประเทศและในประเทศ ล่าสุดพบว่า สายพันธุ์โอมิครอนมักทำให้เกิดอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คือ ไข้ ไอ เจ็บคอ บางรายอาจมีปอดอักเสบแต่ไม่มากเกือบทุกประเทศรายงานตรงกันว่าไม่รุนแรงไปกว่าเดลตา ส่วนประเทศไทยจากการดูแลรักษาผู้ป่วยโอมิครอน 100 รายแรก พบ 48% ไม่มีอาการ อีก 41% มีอาการไม่มาก ที่สำคัญ ไม่มีรายใดใส่ท่อช่วยหายใจและเสียชีวิต โดยพบปอดอักเสบเล็กน้อย 7 ราย ในจำนวนนี้ 2 รายมีค่าออกซิเจนในเลือดลดลงเล็กน้อย ไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และพบว่าผู้ป่วยทุกรายได้รับวัคซีนครบ 2 โดส แสดงให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนช่วยลดความรุนแรงได้ และการฉีดเข็มกระตุ้นจะช่วยให้ป้องกันได้ดีขึ้น สำหรับเตียงรองรับผู้ป่วยสีเหลืองที่ต้องใช้ออกซิเจนแบบไฮโฟลว์และเตียงสีแดง ทั้งประเทศมี 11,000 เตียง รองรับผู้ป่วยได้ 785 คนต่อวัน หากรวมเตียงสีเขียวด้วยจะรับผู้ป่วยโควิด 19 ได้ถึง 52,300 คนต่อวัน สำหรับ กทม.และปริมณฑล ประเมินว่ารับได้ไม่เกิน 8 พันคนต่อวัน ซึ่งกทม. เคยมีผู้ป่วยมากที่สุดประมาณ 5 พันคนต่อวัน จำนวนเตียงถือว่ายังรองรับได้ และยังสามารถเพิ่มขยายเตียงได้อีก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสายพันธุ์โอมิครอนครึ่งหนึ่งไม่มีอาการ จึงเน้นการดูแลที่บ้านและชุมชน (HI/CI) โดยปรับให้ติดต่อกลับผู้ป่วยภายใน 6 ชั่วโมงหลังทราบผลตรวจ ซึ่งกทม. ได้เตรียมพร้อม CI ไว้ทุกเขตแล้ว กรณีผู้ป่วยเด็กได้เตรียมทั้งยา เวชภัณฑ์สำหรับเด็ก และเตียงในโรงพยาบาลสำหรับเด็กที่มีอาการรุนแรง ส่วนกลุ่มแรงงานต่างด้าวเน้นทำ Factory Isolation เพื่อแบ่งเบาการใช้เตียง
ด้าน นพ.โอภาส กล่าวว่า การเตือนภัยโควิดพิจารณาข้อมูลจากหลายปัจจัย ได้แก่ ระดับความเสี่ยงของสถานการณ์จากอัตราผู้ติดเชื้อต่อแสนประชากรรายสัปดาห์ ความสามารถในการรองรับดูแลผู้ป่วย ความครอบคลุมของวัคซีนในกลุ่มเสี่ยง และการระบาดเป็นกลุ่มก้อน แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ 1.ใช้ชีวิตตามปกติ (สีเขียว) สามารถเปิดทุกอย่างได้ภายใต้มาตรการ COVID Free Setting เดินทางเข้าประเทศได้ตามปกติ 2.เร่งเฝ้าระวังคัดกรอง (สีเหลือง) จำกัดเข้าสถานที่ปิด เริ่มระบบ Test &Go 3.จำกัดการรวมกลุ่ม (สีส้ม) งดเข้าสถานที่ปิด ทำงานที่บ้าน คัดกรองก่อนเดินทาง เปิดระบบแซนด์บ็อกซ์ 4.ปิดสถานที่เสี่ยง (สีแดง) เปิดเฉพาะสถานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่ ใช้ระบบกักตัวผู้เดินทางจากต่างประเทศแบบลดวันกักตัว และ 5.จำกัดการเดินทางและกิจกรรม (สีแดงเข้ม) โดยรวมกลุ่มไม่เกิน 5 คน เพิ่มมาตรการเคอร์ฟิว และกักตัวผู้เดินทางจากต่างประเทศทุกราย
นพ.โอภาสกล่าวต่อว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขประเมินว่าอยู่ในระดับ 3 โดยสามารถไปสถานที่เสี่ยงได้ เช่น ร้านอาหาร แต่ควรเป็นระบบเปิด อากาศถ่ายเทสะดวก คนไม่แออัด ดื่มสุราได้ การรวมตัวหมู่มากไม่ควรเกิน 200 คน ดำเนินกิจการตาม COVID Free Setting เดินทางข้ามจังหวัดได้ หากเกิน 4 ชั่วโมงควรมีการตรวจ ATK ป้องกันตนเองสูงสุดตลอดเวลา สวมหน้ากาก 100% ชะลอการเดินทางไปต่างประเทศ เมื่อกลับเข้าประเทศช่วง 7 วันแรก ขอให้สังเกตอาการตนเอง อย่าเพิ่งทำกิจกรรมที่ต้องถอดหน้ากากในคนหมู่มาก หลีกเลี่ยงสัมผัสใกล้ชิดกลุ่มเสี่ยง ทั้งคนในครอบครัวและคนรู้จัก และช่วงกลับมาทำงานหลังเทศกาลปีใหม่อาจมีการระบาดมากขึ้น ขอให้ทำงานที่บ้านอย่างต่อเนื่องและตรวจคัดกรองก่อนเข้าทำงาน
*********************************** 27 ธันวาคม 2564