สธ.มหาสารคาม รับนโยบาย “คนไทยห่างไกลโรคฯ” เดินหน้าฉีดวัคซีน HPV ให้กลุ่มเป้าหมายกว่า 2.8 หมื่นคน พร้อมเสริมแกร่ง อสม. ช่วยลดความเสี่ยง NCDs
- สำนักสารนิเทศ
- 231 View
- อ่านต่อ
คณะกรรมการวิชาการในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ และอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ สรุปผลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนซิโนแวคในการป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและบุคลากรสาธารณสุขจากการใช้จริงในประเทศไทย ที่จังหวัดภูเก็ต สมุทรสาคร เชียงราย และฐานข้อมูลกรมควบคุมโรค โดยผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มอย่างน้อย 14 วัน สามารถลดการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อัลฟาได้ ร้อยละ 71 - 91 โดยคนที่ได้รับวัคซีนยังไม่พบการเสียชีวิตจากโควิด
วันนี้ (28 มิถุนายน 2564) นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขว่า คณะกรรมการวิชาการในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ และอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ได้สรุปผลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีน Coronavac ของบริษัทซิโนแวค ในการป้องกันการติดเชื้อจากการใช้จริงในประเทศไทยช่วงเมษายนและพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์อัลฟา พบว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค
ครบ 2 เข็มอย่างน้อย 14 วัน มีประสิทธิผลในการลดการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อัลฟาได้ร้อยละ 71 -91 โดยแยกการศึกษาในกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่จังหวัดภูเก็ต มีประสิทธิผลป้องกันการติดเชื้อร้อยละ 90.7 ศึกษาที่จังหวัดสมุทรสาคร มีประสิทธิผลร้อยละ 90.5 ส่วนการศึกษาในกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขจากเหตุการณ์การติดเชื้อที่จังหวัดเชียงราย พบวัคซีนมีประสิทธิผลร้อยละ 82.8 และจากฐานข้อมูลกรมควบคุมโรค ศึกษาในบุคลากรสาธารณสุข พบมีประสิทธิผลร้อยละ 70.9 โดยคนที่ได้รับวัคซีน ไม่มีผู้ใดเสียชีวิตจากโควิด ส่วนประสิทธิผลต่อสายพันธุ์เดลต้าที่พบการระบาดเพิ่มมากขึ้น อยู่ระหว่างการศึกษารวบรวมข้อมูล
นอกจากนี้ จากการติดตามข้อมูลประสิทธิผลของวัคซีน Coronavac หลังมีการใช้จริงโดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติ พบว่า ที่ประเทศอินโดนีเซีย รายงานว่าหลังฉีดวัคซีนครบ 2 โดส ป้องกันการป่วยที่มีอาการร้อยละ 94 ป้องกันการเสียชีวิตได้ร้อยละ 98 การศึกษาที่ประเทศชิลี พบป้องกันการป่วยที่รุนแรงร้อยละ 89 และที่เมืองเซอร์รานา ประเทศบราซิล หลังฉีดครบ 2 โดส ป้องกันการป่วยที่มีอาการได้ร้อยละ 80 และป้องกันการเสียชีวิตได้ร้อยละ 95
ผลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนในการใช้จริง (Real World Study) ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ พบผลสอดคล้องกันว่า วัคซีนโคโรนาแวคมีประสิทธิผลสูงเพียงพอพอในการป้องกันโควิด 19 โดยสามารถลดการติดเชื้อโควิด 19 ได้ระหว่างร้อยละ 71-91 และลดการป่วยหนักและเสียชีวิตได้มากกว่าร้อยละ 95 ในผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วอย่างน้อย 14 วัน
********************************** 28 มิถุนายน 2564