ปลัด สธ. สั่งตั้งศูนย์ EOC รับมือ "อหิวาต์" พร้อมให้การสนับสนุนทีมช่วย "เมียนมา" ควบคุมป้องกันโรค เข้มเฝ้าระวังจุดเสี่ยงในไทย
- สำนักสารนิเทศ
- 223 View
- อ่านต่อ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อแจงประเด็นวัคซีนโควิด 19 ที่ประชาชนควรรู้ การฉีดวัคซีนโควิด 19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค
บ่ายวันนี้ (2 กุมภาพันธ์ 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ แถลงข่าวประเด็นวัคซีนโควิด 19 ที่ประชาชนควรรู้ ว่า ขณะนี้ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนโควิด 19 ประมาณ 100 ล้านโดส เป็นการใช้ในภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งประเทศไทย โดยยึดหลักความปลอดภัยและคุณภาพ มีเป้าหมายหลักคือ ลดการเจ็บป่วย ลดการเสียชีวิต และลดการแพร่เชื้อ ต้องฉีดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อเพิ่มในอนาคต เนื่องจากเมื่อไม่ป่วยหรือป่วยแต่ไม่มีอาการ การแพร่เชื้อจะน้อยลง
นายแพทย์ทวีกล่าวต่อว่า เรื่องผลข้างเคียงของวัคซีนที่พบคือ ปวด บวม แดง ร้อน เช่น วัคซีนแอสตราเซนเนกา พบปวด บวม แดง ร้อนประมาณร้อยละ 70 ส่วนใหญ่กินยาแก้ปวดหรือนอนพักก็หาย สำหรับผลข้างเคียงรุนแรงนั้น วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์พบ 11 รายใน 1 ล้านโดส บริษัทโมเดอร์นาพบ 3.7 รายในล้านโดส ถือว่าสูงกว่าเมื่อเทียบกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่พบประมาณ 1 รายในล้านโดส แต่ต้องเก็บข้อมูลต่อไป ทั้งนี้ อาการรุนแรงที่เกิดขึ้นของวัคซีนทั้ง 2 ชนิด มักเกิดใน 15 นาทีหลังฉีด ดังนั้นจึงให้เฝ้าสังเกตอาการที่หน่วยบริการหลังฉีด30 นาที ส่วนของแอสตราเซนเนกายังไม่มีข้อมูล เนื่องจากอยู่ระหว่างเริ่มฉีด ขณะที่ซิโนแวคใช้รูปแบบเชื้อตายที่มีการใช้มานานเช่นเดียวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไข้สมองอักเสบ และโปลิโอชนิดฉีด พบว่าผลข้างเคียงต่ำ
จึงค่อนข้างมั่นใจว่าผลข้างเคียงน่าจะน้อย และระหว่างการขอข้อมูลผลจากการฉีดวัคซีนในอินโดนีเซีย จีน และเมียนมา ที่มีการฉีดไปแล้วประมาณ 4-5 ล้านโดส ส่วนกรณีเชื้อกลายพันธุ์ทำให้เกิดปัญหาการตอบสนองต่อวัคซีนลดลง ต้องติดตามข้อมูลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด
******************************* 2 กุมภาพันธ์ 2564
*********************