“สมศักดิ์” ยกระดับหมอนวดไทยเชี่ยวชาญพิเศษ 7 กลุ่มอาการ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย หนุนเศรษฐกิจสุขภาพ
- สำนักสารนิเทศ
- 314 View
- อ่านต่อ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดอบรมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวทางระบบการดูแลผู้สูงอายุไร้รอยต่อสำหรับเขตเมือง ระหว่างไทยและสิงคโปร์ ประสานความร่วมมือระหว่างประเทศรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
วันนี้ (15 พฤศจิกายน 2562) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กทม. ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุม Hospital Management Programme in Thailand “Seamless Care for Ageing Population” โดยมีนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ นายแพทย์สุขสันต์ กิตติศุภกร รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ผู้อำนวยการสถาบัน/โรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องด้านการดูแลผู้สูงอายุ ผู้บริหาร SingHealth กองทุน Temasak Foundation ทีมผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสิงคโปร์และประเทศไทย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจากกรมการแพทย์และหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมประชุม
ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุสมบูรณ์แบบ (Completed Aged Society) ภายในปี 2564 ซึ่งจะมีผู้สูงอายุถึงร้อยละ 20 ของประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทสู่สังคมเมือง กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมรับมือ โดยมอบให้กรมการแพทย์
ร่วมมือกับ SingHealth สาธารณรัฐสิงคโปร์ จัดกิจกรรมการฝึกอบรม พัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
ด้านระบบการดูแลผู้สูงอายุไร้รอยต่อ (Seamless care for the elderly) ภายใต้ชื่อหลักสูตร Hospital Management Programme in Thailand “Seamless Care for Ageing Population” เพื่อนำแนวทางการดูแลผู้สูงอายุมาประยุกต์ใช้ในประเทศ โดยสาธารณรัฐสิงคโปร์มีสัดส่วนผู้สูงอายุสูงเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศอาเซียน และมีสภาพสังคมเป็น
เขตเมือง แต่สามารถจัดระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองแนวคิดในการจัดระบบบริการดูแลผู้สูงอายุในเขตเมือง กับวิทยากรจากสิงคโปร์ Changi General Hospital, Singapore Health Services หลักสูตรประกอบด้วย ความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มอาการโรคในผู้สูงอายุ และการจัดการปัญหาอาการที่พบบ่อย เช่น ภาวะการหกล้ม ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะเปราะบาง ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย กระดูกพรุน แผลกดทับ ภาวะสมองเสื่อม อาการเพ้อ เป็นต้น การประเมินอาการและสมรรถภาพผู้สูงอายุ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแล และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ การดูแลระยะเปลี่ยนผ่าน หรือระยะกลาง (Intermediate care) จากรพ.สู่ชุมชน และการบูรณาการเพื่อจัดการรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในหอผู้ป่วย บุคลากร ที่เข้าอบรมในรอบแรกนี้ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด ที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์จำนวน 44 คน และสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 10 คน แต่เมื่อดำเนินโครงการครบจะมีผู้ผ่านการอบรมจำนวน 200 คน จากองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทั่วประเทศ
********************************** 15 พฤศจิกายน 2562
********************************************