“สมศักดิ์” ยกระดับหมอนวดไทยเชี่ยวชาญพิเศษ 7 กลุ่มอาการ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย หนุนเศรษฐกิจสุขภาพ
- สำนักสารนิเทศ
- 347 View
- อ่านต่อ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดงานประชุมวิชาการรังสีแพทย์ ประจำปี 2562 เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชา ต่อยอดบริการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในงานรังสี
วันนี้ (28 มีนาคม 2562) ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมทางวิชาการประจำปี ครั้งที่ 56/2562 เรื่อง “Challenging of Radiology Service in Thailand 4.0” จัดโดยราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย โดยมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาล แพทย์ประจำบ้าน และบุคลากรทางการแพทย์ ประมาณ 1,000 คนเข้าร่วมประชุม เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชา และเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้นำเสนอผลงานวิจัยเพื่อส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยใหม่ๆ และได้เชิญศาสตราจารย์ พอล เจ. ชาง (Professor Paul J. Chang) วิทยากรจาก Radiological Society of North America (RSNA) บรรยายในหัวข้อ การนำ Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในงานรังสี (Artificial Intelligence Deep Learning and Radiomics) ซึ่งเป็นเรื่องใหม่และความท้าทายในปัจจุบัน
ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกลกล่าวว่า ขณะนี้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ เป็น Smart Hospital เพิ่มความสะดวกในระบบบริการลดความแออัด เช่น ระบบคิว (Queue) มุ่งเน้นพัฒนาระบบบริการให้ครอบคลุมระบบสุขภาพชุมชน เช่น การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligent) มาช่วยในการตรวจวินิจฉัย 3 โรคหลัก เกี่ยวกับ ตา ไต หัวใจ พร้อมทั้งพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับคลินิกหมอครอบครัว เพิ่มความสะดวกในการเก็บข้อมูลสุขภาพประชาชน นำเข้าระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information System Gateway : HIS Gateway) ไว้ในระบบ Cloud เพื่อง่ายต่อการดึงข้อมูลมาใช้ในการกำหนดทิศทางและนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นไปตามที่รัฐบาลมีนโยบายขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Thailand 4.0
“การนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในงานรังสีและทางการแพทย์ เป็นความก้าวหน้าทางวิทยาการที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในปัจจุบัน หากรังสีแพทย์และบุคลากรทางรังสีในประเทศไทยมีความรู้ในด้านนี้ ก็สามารถนำมาต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมโดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ภายในประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ต่อระบบสุขภาพต่อไป” ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกลกล่าว
************************************** 28 มีนาคม 2562
*****************************