สธ.เผย “อหิวาต์” จ.ตาก ควบคุมได้แล้ว ไม่มีผู้ป่วยเพิ่ม ออก 6 มาตรการเข้มป้องกันช่วงสังสรรค์ปีใหม่
- สำนักสารนิเทศ
- 633 View
- อ่านต่อ
นายกรัฐมนตรีปักธง เข้มพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 ปกป้องเยาวชน นักดื่มหน้าใหม่ ให้ห่างไกล ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
วันนี้ (13 กุมภาพันธ์ 2561) ที่ บริเวณตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ร่วมปักธงแสดงสัญลักษณ์ความรัก ความห่วงใย และปรารถนาดี จากรัฐบาลสู่ เยาวชนและสังคม ผ่านกิจกรรม “1 ทศวรรษ พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551” โดยมีพลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี และศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำเยี่ยมชมบูทนิทรรศการ
ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 จะมีผลใช้บังคับครบ 10 ปี ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 นี้ และก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 ของพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขมีเป้าหมายที่จะเพิ่มความเข้มในการปกป้องเด็กและนักดื่มหน้าใหม่ คือเยาวชนและสตรี ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพิ่มการดูแลรักษาผู้ติดแอลกอฮอลล์ ให้ลด ละ เลิก รวมถึงพัฒนากฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ให้ครอบคลุมและทันสมัยต่อสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงของปัจจุบันและในอนาคต
สำหรับมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผ่านมา เพื่อช่วยลดปัญหาและผลกระทบด้านสังคม เศรษฐกิจ ตลอดจนช่วยป้องกันเด็กและเยาวชนไทยให้ห่างไกล รู้เท่าทัน รวมถึงตระหนักถึงพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ให้เข้าถึงได้โดยง่ายซึ่งดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ห้ามจำหน่ายในสถานที่ราชการ สถานศึกษาและสถานีขนส่ง เป็นต้น ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาอื่น นอกจากเวลา 11.00–14.00 น. และ 17.00 – 24.00 น. หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20ปี บริบูรณ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำกัดสถานที่ห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย และห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อ เครื่องหมายของเครื่องดื่ม อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ ชักจูงให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ