สธ. เยียวยาจิตใจญาติ /ผู้ประสบเหตุ ตึกถล่มแล้ว 282 ราย พบเสี่ยงสูง 9 ราย เตรียมพร้อมแพทย์นิติเวชร่วมชันสูตรเมื่อได้รับการร้องขอ
- สำนักสารนิเทศ
- 135 View
- อ่านต่อ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยเหตุแผ่นดินไหวเมียนมา ส่งผลสถานพยาบาลได้รับผลกระทบ 63 แห่ง ใน 17 จังหวัด ส่วนใหญ่เกิดรอยร้าว ไม่กระทบโครงสร้างหลักอาคาร เร่งสำรวจความเสียหายและความปลอดภัยเพิ่มเติมก่อนกลับมาเปิดบริการ ส่วนตึกถล่มย่านบางซื่อ เบื้องต้นได้รับรายงานสูญหาย 67 ราย เจ็บ 8 ราย เสียชีวิต 3 ราย ให้โรงพยาบาลในสังกัดเตรียมทีมแพทย์ฉุกเฉินพร้อมสำรองเตียงรับผู้บาดเจ็บ
วันนี้ (28 มีนาคม 2568) ที่ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินฯ อาคารภูมิจิต สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวกรณีเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ ว่า สถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดต่างๆ รายงานว่าสามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ซึ่งบุคลากรได้ดูแลช่วยเหลืออพยพผู้ป่วยและผู้รับบริการออกมายังจุดรวมพลอย่างปลอดภัย ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต โดยมีรายงานอาคารของสถานพยาบาลที่ได้รับความเสียหาย 17 จังหวัด รวม 63 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ชัยนาท นนทบุรี นครปฐม สมุทรสาคร มหาสารคาม เลย และ กทม. ซึ่งพบรอยร้าวที่ รพ.เลิดสิน
นายสมศักดิ์กล่าวต่อว่า ส่วนเหตุตึกถล่มบริเวณบางซื่อจากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว เบื้องต้น สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติแจ้งว่ามีคนงานก่อสร้างประมาณ 407 คน ขณะนี้มีการมารายงานตัวแล้ว 340 คน สูญหาย 67 คน ได้รับบาดเจ็บ 8 ราย นำส่ง รพ.สีกัน 2 ราย รพ.วิมุต 1 ราย และ รพ.พญาไท 2 ราย ส่วนอีก 3 ราย อาการเล็กน้อยได้กลับบ้านแล้ว ส่วนผู้เสียชีวิตพบ 3 ราย มีการจัดทีมกู้ชีพกู้ภัยเข้าช่วยเหลือผู้ติดค้าง ณ จุดเกิดเหตุแล้ว โดยทีม MERT ของกรมการแพทย์ นำโดย แพทย์หญิงนฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ ซึ่งขณะนั้นอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ ได้เข้าช่วยเหลือบัญชาการเหตุการณ์ในพื้นที่ และมีศูนย์เอราวัณ กทม. เป็นหน่วยประสานการส่งตัวผู้บาดเจ็บไปยังสถานพยาบาลต่างๆ ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขได้ให้สถานพยาบาลในสังกัดเตรียมทีมแพทย์ฉุกเฉินสนับสนุน รวมถึงสำรองเตียงผู้ป่วยพร้อมรองผู้บาดเจ็บตามที่ได้รับการประสาน นอกจากนี้ ยังได้เตรียมทีมพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลเพื่อสนับสนุนการชันสูตรผู้เสียชีวิตด้วย
พร้อมกันนี้ ได้มีข้อสั่งการ ดังนี้ 1.ให้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา 2.สำรวจประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งอาคาร อุปกรณ์ ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่และคนไข้ โดยให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเตรียมประเมินความเสียหายโครงสร้าง 3.กรณีหมดเหตุอาฟเตอร์ช็อกแล้ว หากอาคารไม่ร้าว หรือเห็นว่ามีความปลอดภัย ให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตัดสินใจในการทำแผนนำคนไข้กลับเข้าที่เดิม 4.เตรียมความพร้อมทีมแพทย์ออกไปดูแลประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บตามที่ร้องขอ 5.เตรียมความพร้อมของโรงพยาบาล บุคลากร เครื่องมือ เวชภัณฑ์ 6.จัดทีมประสานงานอำนวยการสั่งการและทีมสื่อสาร โดยมอบหมาย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็น ผู้บัญชาการและสื่อสาร 7.เตรียมระบบชันสูตรพลิกศพผู้เสียชีวิต 8.จัดเตรียมทีมเยียวยาจิตใจ (MCATT) ทั้งจากกรมสุขภาพจิต 1,000 คน และจากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ดูแลผู้สูญเสีย
********************************************** 28 มีนาคม 2568