บทความสุขภาพ

พิมพ์

หมดไฟ!!! จากการทำงาน...จัดการอย่างไร??


‘เบิร์นเอาท์’ ซินโดรม
ภาวะหมดไฟ
เมื่องานเบิร์นชีวิตจนหมดไฟ
จัดการอย่างไรดี?
.
“พรุ่งนี้วันจันทร์แล้วหรอ?”
“เฮ้อ ต้องทำงานอีกแล้ว”
.
อาการเบื่องาน เนือยๆ ไม่มีสมาธิ ไม่อยากทำอะไรเลย
ทั้งความกระตือรือร้น ทั้ง Passion ที่เคยมีหายต๋อมไปกับวังวนความเหนื่อยล้า
.
อาการหมดไฟ หรือ Burnout แบบนี้ เพิ่งถูกจัดเข้าในบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับที่ 11 (International Classification of Diseases (ICD)) โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือถูกยอมรับแล้วว่าเป็น ‘ภาวะ’ อย่างหนึ่งที่ควรได้รับการรักษา
.
องค์การอนามัยโลกระบุว่าภาวะนี้เกิดจากความเครียด
ความกดดันจากสภาพแวดล้อมการทำงาน ที่สะสมมาระยะเวลาหนึ่ง
และไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง จนเกิดอาการหมดไฟ
โดยมีอาการหลักๆ 3 ข้อ คือ
.
1) รู้สึกเหนื่อยล้า หมดแรง
2) รู้สึกกับงานในทางลบ หรือไม่รู้สึกยินดียินร้ายไปเลย
3) ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
.
หมดไฟ ...จัดการอย่างไรดี
.
คำแนะนำในการจัดการกับภาวะหมดไฟทำได้ 2 ด้าน
คือ 1. จัดการกับตัวเอง 2. จัดการกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน
.
1. จัดการกับตัวเอง
- พักผ่อนให้เพียงพอ
นอนอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
การชาร์จแบตให้ร่างกายอย่างเต็มที่คือกุญแจสำคัญ​
- ผ่อนคลายอารมณ์ด้วยกิจกรรมอื่นๆ
เพราะความเครียดเป็นเรื่องธรรมชาติ
ในเมื่อคุณเป็นคนที่ใส่ใจและขยันทำงาน
คุณก็จะทำได้ดีในการใส่ใจและรักตัวเองเช่นกัน
ดังนั้นควรให้รางวัลตัวเองบ้าง ไม่ว่าจะอยากนั่งเฉยๆ เดินไปเรื่อยๆ
นอนอุตุดูหนัง ฟังเพลง หรือชอปปิ้ง คุณก็สามารถทำได้
ถือเป็นรางวัลให้กับตัวเองที่ตั้งใจทำงานมาตลอด
- พูดคุย ขอคำปรึกษา
คุณสามารถพูดหรือบอกกับคนอื่นๆได้ ว่าคุณรู้สึกหมดแรง หรือเบื่อ 
หรือถ้าหากคุณรู้สึกว่าอาการของคุณรุนแรงมากกว่าปกติ
ต้องการความช่วยเหลือ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก็สามารถทำได้เช่นกัน
.
2. จัดการกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน
คำแนะนำจาก WHO คือการปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้มีความรู้สึกในทางบวกมากขึ้น ซึ่งด้านนี้ต้องอาศัยวิสัยทัศน์และนโยบายของผู้บริหารและ HR เช่น
- สร้างเป้าหมายเส้นทางอาชีพให้พนักงาน
เพื่อให้มีทิศทางในการทำงานชัดเจนขึ้น ยิ่งมีเป้าหมาย ก็ยิ่งมีกำลังใจ
- สร้างความมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของพนักงาน
เพื่อให้สถานที่ทำงานทำให้ผู้ทำงานรู้สึกสบายใจมากขึ้น เช่น
ร่วมโหวตสถานที่ท่องเที่ยวประจำปีของบริษัท
หรือโหวตเมนูอาหารใหม่ในโรงอาหารที่อยากกิน
- นโยบายดูแลสุขภาพกายและใจของพนักงาน
เพื่อช่วยเหลือและดูแลอย่างเหมาะสม

ที่มา:องค์การอนามัยโลก (WHO)


จากหน่วยงาน : กลุ่มภารกิจด้านวิเคราะห์และประมวลข่าวสาร สำนักสารนิเทศ เปิดดู 1278 view
วันที่ประกาศข่าว : 12 มิถุนายน 2562 เวลา 13:26 น.