บทความสุขภาพ

พิมพ์

ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี2562


 ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, สราญรัตน์ ลัทธิ ส านักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค 

        โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่ส าคัญของประชากรทั่วโลก ประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคความ ดันโลหิตสูงถึง 7.5 ล้านคน และมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเกือบ 1 พันล้านคนทั่วโลก คาดว่าในปี 2568 ความชุก ของผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.56 พันล้านคน ส าหรับสถานการณ์ในประเทศไทย โรคความดันโลหิตสูงยังคงเป็นปัญหา สุขภาพที่ส าคัญเช่นกัน เห็นได้ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ15 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นจาก 10 ล้านคน ในปี 2552 เป็น 13 ล้านคนในปี 25571 และเกือบครึ่งหนึ่งไม่ทราบว่าตนเองป่วยด้วยโรคนี้ จ านวนผู้ป่วยด้วยโรค ความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเกือบ 4 ล้านคนในปี 2556 เป็นเกือบ 6 ล้านคนในปี2561 2 จ านวนผู้เสียชีวิต จากโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับจ านวนผู้ป่วย จาก 5,186 คนในปี 2556 เป็น 8,525 คน ในปี 25603 ปี 2557 มีการประเมินค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล พบว่าประเทศไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเกือบ 80,000 ล้านบาทต่อปีต่อจ านวนผู้ป่วยประมาณการ 10 ล้านคน 

        โรคความดันโลหิตสูงถือเป็น “ฆาตกรเงียบ” เนื่องจากไม่มีอาการแสดง จนท าให้หลายคนต้องเสียชีวิต จากโรคนี้และในบางครั้งผู้ป่วยมักไปตรวจพบที่โรงพยาบาลจากการมารักษาโรคอื่นๆ ซึ่งหากมีภาวะความดันโลหิตสูง เป็นระยะเวลานานแล้วไม่ได้รับการรักษา จะแสดงอาการปวดศีรษะ ใจสั่น ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย วิงเวียน สับสน หายใจล าบาก หัวใจเต้นผิดปกติหากมีภาวะความดันโลหิตสูงแล้วไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ เป็นเวลานาน จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส าคัญ ได้แก่ หลอดเลือดแดงในตาเสื่อม อาจท าให้มีเลือดออกที่จอตา ท าให้ประสาทตาเสื่อม ตามัว หรือตาบอดได้โรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดจากหัวใจท างานหนักขึ้น ท าให้ผนังหัวใจหนาตัว และถ้าไม่ได้รับการรักษาจะท าให้เกิดหัวใจโต และหัวใจวายในที่สุด โรคหลอดเลือดสมอง เกิดภาวะหลอดเลือดใน สมองตีบ ตัน หรือแตก ท าให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคไตเรื้อรัง เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ ท าให้เกิดไตวาย ได้อาจรุนแรงถึงขั้นท าให้เสียชีวิตได้

        โรคความดันโลหิตสูง มีสาเหตุส าคัญมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มี ปริมาณโซเดียมสูง (เช่น ปลาร้า บะหมี่กึ่งส าเร็จรูป และเครื่องดื่มเกลือแร่ เป็นต้น) การสูบบุหรี่ การขาดออกก าลังกาย การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ การมีภาวะอ้วน การมีภาวะเครียดสะสม การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประกอบกับ อายุที่มากขึ้น รวมถึงการมีพ่อ แม่ หรือญาติพี่น้องสายตรงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้มีโอกาส ต่อการเกิดโรคนี้มากขึ้น

รณรงค์ความดันโลหิตสูงโลก

        สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก (World Hypertension League) และสมาคมโรคความดันโลหิตสูง นานาชาติ (International Society of Hypertension) ได้ก าหนดให้วันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันความ ดันโลหิตสูงโลก โดยในปีพ.ศ.2562 ยังคงใช้ค าขวัญเดิมเพื่อการรณรงค์คือ “Know Your Numbers” ให้รู้ค่าความ ดันโลหิตของตนเอง โดยมีเป้าหมายเพื่อสื่อสารและสร้างกระแสให้ประชากรทั่วโลกเพิ่มความตระหนักต่อโรคความ ดันโลหิตสูง

        กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค เห็นความส าคัญในการป้องกันควบคุมโรคความดันโลหิตสูง จึง มุ่งเน้นให้ประชาชนทราบค่าความดันโลหิตของตนเอง ภายใต้ประเด็นรณรงค์ของปีพ.ศ. 2562 คือ “Know Your Numbers” หรือ “ท่านทราบระดับความดันโลหิตของท่านหรือไม่” ซึ่งการวัดความดันโลหิตเป็นวิธีเดียวที่จะท าให้ ประชาชนทราบได้ เป็นวิธีการที่ง่าย ไม่เจ็บตัว ไม่ต้องเจาะเลือด ใช้เพียงเครื่องวัดความดันโลหิต และไม่จ าเป็นต้องไป วัดความดันโลหิตที่โรงพยาบาลเสมอไป แต่สามารถวัดที่ใดก็ได้ที่สะดวกและสามารถติดตามระดับความดันโลหิตของ ตนเองได้ 

แนวทางในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงส าหรับประชาชนทั่วไป

1. จ ากัดปริมาณเกลือและโซเดียมในอาหาร องค์การอนามัยโลกก าหนดปริมาณการบริโภคโซเดียมที่ เหมาะสมไว้คือ ไม่เกินวันละ 2 กรัม ปริมาณโซเดียม 2 กรัม เทียบเท่ากับเกลือแกง 1 ช้อนชา หรือ น้ าปลาหรือซีอิ้วขาว 3-4 ช้อนชา โดยน้ าปลาหรือซีอิ้วขาว 1 ช้อนชา มีโซเดียมประมาณ 350 – 500 มก. และผงชูรส 1 ช้อนชา มีโซเดียมประมาณ 500 มก. 2. งดสูบบุหรี่หรือหลีกเลี่ยงการสูดควันบุหรี่ และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3. ควบคุมน าหนักให้มีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 18.5 – 22.9 กก./ตร.ม. และมีเส้นรอบเอวอยู่ในเกณฑ์ มาตรฐาน ส าหรับคนไทย คือ ผู้ชายไม่เกิน 90 ซม. (36 นิ้ว) และส าหรับผู้หญิงไม่เกิน 80 ซม. (32 นิ้ว) 4. เพิ่มกิจกรรมทางกายหรือการออกก าลังกายอย่างสม่ าเสมอ ควรออกก าลังกายแบบแอโรบิก อย่างน้อย สัปดาห์ละ 5 วัน โดยสามารถเลือกออกก าลังกายที่ระดับความหนักแตกต่างกันได้ดังนี้ ระดับปานกลาง หมายถึง ออกก าลังกายจนชีพจรเต้นร้อยละ 50-70 ของชีพจรสูงสุดตามอายุ (อัตราชีพ จรสูงสุด = 220 – อายุ) รวมเป็นระยะเวลาเฉลี่ยสัปดาห์ละ 150 นาที ระดับหนักมาก หมายถึง ออกก าลังกายจนชีพจรเต้นมากกว่าร้อยละ 70 ของชีพจรสูงสุดตามอายุ ควร ออกก าลังกายเฉลี่ยสัปดาห์ละ 75-90 นาที 5. วัดความดันโลหิตเป็นประจ า อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

แนวทางในการด าเนินงานกิจกรรมของสถานบริการสาธารณสุข 1. กระตุ้นและสนับสนุนให้ประชาชนวัดความดันโลหิต โดยจัดให้มีเครื่องวัดความดันโลหิตในพื้นที่สาธารณะ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการวัดความดันโลหิตมากขึ้น 2. สนับสนุนและส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในประชาชนที่มีความเสี่ยง คือ การบริโภคอาหาร (ลด บริโภคเกลือและโซเดียม) เพิ่มกิจกรรมทางกาย งดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการสูดควันบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3. ส่งเสริม สนับสนุน ร่วมกับเครือข่ายในระดับพื้นที่ เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี 4. สร้างความตระหนักและการรับรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) โดยจัดกิจกรรมรณรงค์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง เช่น ปัจจัยเสี่ยง สัญญาณเตือน การป้องกัน การปฏิบัติตัว ส าหรับผู้ป่วย โดยเน้นให้ประชาชนวัดความดันโลหิตและทราบระดับความดันโลหิตของตนเอง รวมถึงสามารถปฏิบัติ ตนเพื่อป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงได้ 5. การประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุ โทรทัศน์ เสียงตามสายในชุมชนหรือสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม 6. สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข และองค์กรเอกชน ในการรณรงค์เพื่อ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพให้เกิดผลส าเร็จ มีความยั่งยืน และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด

 


จากหน่วยงาน : กลุ่มภารกิจด้านวิเคราะห์และประมวลข่าวสาร สำนักสารนิเทศ เปิดดู 12846 view
วันที่ประกาศข่าว : 17 พฤษภาคม 2562 เวลา 15:10 น.