เตือนนักสูบ!!! บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายกว่าที่คิด


      ท่ามกลางการระบาดโรคโควิด 19 ที่มีการพัฒนากลายพันธุ์ตามสถานการณ์ของโรคที่ต้องเฝ้าระวัง การระบาดด้วยการสร้างวัฒนธรรมพฤติกรรมการป้องกันตนเองสูงสุด (Universal Prevention) อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 และการเสียชีวิตที่จะตามมา ขณะเดียวกันปัจจุบันพฤติกรรมการสูบบุหรี่ทุกประเภทในประชากรไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปก็ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าที่มีอันตรายไม่น้อยกว่าบุหรี่มวนทั่วไป

      จากผลการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคยาสูบแบบมีควันของประชากรไทย ในปี พ.ศ. 2564 ที่บริโภคยาสูบแบบมีควันทุกประเภท จำแนกประเภทผลิตภัณฑ์ยาสูบ (สูบมากกว่า 1 ประเภทต่อคน) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ดังนี้

 

ประเภทผลิตภัณฑ์ยาสูบ

จำนวน (คน)

ร้อยละ

  1. บุหรี่ซิกาแรต (บุหรี่ซอง)

5,616,578

9.9 %

  1. บุหรี่มวนเอง

4,608,837

8.1 %

  1. บุหรี่ไฟฟ้า

78,742

0.14 %

  1. บุหรี่ที่สูบผ่านน้ำ

14,688

0.03 %

  1. อื่น ๆ เช่น ไปป์ ซิการ์ ขี้โย เป็นต้น

51,961

0.09 %

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ

         จากตารางข้างต้นจะเห็นว่า คนไทยมีการสูบบุหรี่จำนวนมากขึ้นตามประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายโดย    มีผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ในลำดับที่ 3 ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้า 1 มวน จะเท่ากับสูบบุหรี่ทั่วไปถึง 15 มวน หากมีการสูบติดเป็นประจำทุกวันจะเป็นอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือดได้ 

           อย่างไรก็ตามยาสูบทุกชนิดทั้งบุหรี่ซิกาแรต ยาเส้น บารากู่ ซิการ์ ไปป์ บุหรี่ไฟฟ้า และยาสูบชนิดใหม่ ๆ ล้วนมีนิโคตินที่ทำให้เกิดการเสพติด และ ยาสูบทุกชนิดยังเป็น “ตัวกลาง” ในการนำส่งสารเสพติด “นิโคติน” เข้าสู่ร่างกาย อันตรายของนิโคตินนอกจากเสพติดยังกระตุ้นระบบชีววิทยาต่างๆ ของร่างกายที่สัมพันธ์ต่อการพัฒนาการของทารก สมองเด็ก และวัยรุ่น ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบหัวใจและหลอดเลือด เกิดโรคมะเร็ง  และโรคต่าง ๆ ตามมามากมาย

 

แหล่งข้อมูล  : ศาสตราจารย์ นพ.ประกิต วาทีสาทกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่                 

                        ผศ. ดร. ศรัณญา เบญจกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล                  

 

วันที่          :      3   กุมภาพันธ์ 2565


จากหน่วยงาน : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดดู 566 view
วันที่ประกาศข่าว : 3 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 09:32 น.