อาหาร 7 อย่างกินต้านไทรอยด์เป็นพิษ


    “ต่อมไทรอยด์” เป็นต่อมที่อยู่บริเวณลำคอ ด้านหน้าลูกกระเดือกและ ติดกับหลอดลม ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนในการทำงานของร่างกาย แต่ปัญหา คือ หากต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากไป ทำให้เกิดผลกระทบกับร่างกาย หรือเรียกว่า “ไทรอยด์เป็นพิษ” 

    “ต่อมไทรอยด์” เป็นต่อมที่อยู่บริเวณลำคอ ด้านหน้าลูกกระเดือกและ ติดกับหลอดลม ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนในการทำงานของร่างกาย แต่ปัญหา คือ หากต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากเกินไป จะทำให้เกิดผลกระทบกับร่างกาย หรือเรียกว่า “ไทรอยด์เป็นพิษ” ทำให้ระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานมากขึ้น ทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้ง ๆ ที่รับประทานอาหารได้มากกว่าปกติ อุจจาระ ปัสสาวะบ่อย และอาจมีปัญหาสมาธิสั้น
       
     ทั้งนี้ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า โรคดังกล่าว มักพบในผู้หญิง มากกว่าผู้ชาย 5-10 เท่า มีตั้งแต่ไม่แสดงอาการใด ๆ ไปจนถึงระดับรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยผู้ป่วยมักมีอาการคอพอก เพราะต่อมไทรอยด์โตขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึกหรือเห็นก้อนขนาดใหญ่ที่บริเวณคอ บางรายมีอาการตาโปนร่วมด้วยเรียกว่า โรคคอพอกตาโปน ซึ่งพบได้บ่อยที่สุดประมาณร้อยละ 60-80 ของผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษทั้งหมด
       
     สำหรับอาการโดยทั่วไปจะ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ใจสั่น มือสั่น ขี้ร้อน อาจมี อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด ร่างกายมีการเผาผลาญสูงกว่าปกติ นํ้าหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว บางรายอาจมีอาการ ถ่ายเหลวบ่อยคล้ายท้องเสีย กล้ามเนื้ออ่อนแรงโดยเฉพาะต้นแขนและต้นขา  บางรายเป็นเรื้อรังจนเกิดภาวะแทรก ซ้อน อาทิ แคลเซียมในเลือดสูงทำให้กระดูกอ่อนแอ กลายเป็นโรคกระดูกพรุน เพราะร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์มากไป จนส่งผลต่อความสามารถในการดูดซึมแคลเซียม 
     
     ส่วนภาวะที่ไทรอยด์เป็นพิษขั้นวิกฤติ ผู้ป่วยจะมีอาการ หัวใจเต้นเร็วมากผิดปกติ มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส อาเจียน ท้องเสีย ตัวและตาจะเหลือง สับสนมึนงงอย่างรุนแรง มีภาวะขาดน้ำและอาจช็อก หรืออาจมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย
      
      เพราะฉะนั้นโรคไทรอยด์เป็นพิษจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจ หากมีอาการควรรีบมาพบแพทย์เพื่อรักษาให้ทันท่วงที หากรักษาช้าอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มะเขือเทศ

      นพ.สมศักดิ์ บอกว่า โรคไทรอยด์ ยังเกี่ยวข้องกับอาหารการกินด้วย โดยอาหารที่ช่วยบำรุงมี 7 กลุ่ม คือ 1. ไอโอดีน ในปลา หอยกาบ กุ้ง หอยนางรม ไข่ กระเทียม 2. วิตามีนบี ในไข่แดง เครื่องในสัตว์ ปลา ธัญพืชต่าง ๆ ถั่วลันเตา นม เห็ด เมล็ดอัลมอนด์ 3. ธาตุซีลีเนียม ในปลาทูน่า เห็ด เครื่องในสัตว์ ถั่วเหลือง 4. สังกะสี ในเมล็ดทานตะวัน เนื้อแกะ ถั่วพีแคน ธัญพืชต่าง ๆ หอยนางรม ปลาซาร์ดีน ฯลฯ 5. ทอง แดง ถั่วเหลือง เห็ดชิตาเกะ ข้าวบาร์เล มะเขือเทศ และดาร์คช็อกโกแลต และ   6. สารต้านอนุมูลอิสระ ในแครอท ผักโขม ถั่วเลนทิล ถั่วเหลือง ถั่วขาว เครื่องในสัตว์
        
      อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหาร ต้องรับประทานให้หลากหลาย เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับบางอย่างมากเกินไป หรือขาดสารอาหารบางประเภทมากเกินไป ซึ่งล้วนแต่มีผลกระทบทั้งสิ้น

 

----------------------------------------------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  -  กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

เดลินิวส์

 


จากหน่วยงาน : กลุ่มภารกิจด้านวิเคราะห์และประมวลข่าวสาร สำนักสารนิเทศ เปิดดู 566 view
วันที่ประกาศข่าว : 20 มกราคม 2563 เวลา 12:58 น.