แถลงการณ์สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ เรื่อง ผู้ป่วยเด็กหญิง 14 ปี เกิดเหตุเพลิงไหม้รถโดยสารทัศนศึกษา (ฉบับที่ 10)
- กรมการแพทย์
- 0 View
- อ่านต่อ
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คว้า 2 รางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2567 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ได้แก่ รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ( PMQA ) “ระดับดีเด่น” และรางวัลบริการภาครัฐ ประเภทนวัตกรรมการบริการ “ระดับดี” ผลงาน “นวัตกรรมชุดทดสอบอิมมูโนโครมาโตกราฟีสำหรับตรวจพาราควอตตกค้างในผักและผลไม้” ในงานเสวนาวิชาการและพิธีมอบรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2567 “Transforming Public Service for Sustainability: พลิกโฉมบริการภาครัฐ สู่ความยั่งยืน” ณ ห้องรอยัลจูบิลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567
นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ( PMQA ) เป็นรางวัลอันทรงเกียรติ ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความเป็นเลิศในการบริหารจัดการขององค์กรที่ทัดเทียมระดับมาตราฐานสากลที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการมอบให้กับหน่วยงานภาครัฐเป็นประจำทุกปี ซึ่งได้มาด้วยความเพียรพยายาม ความอดทน หลอมรวมกับความตั้งใจจริงของทุกคนในองค์กร เพื่อนําพาองค์กรให้ก้าวสู่ความเป็นเลิศ
ซึ่งในปี 2567 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ “ระดับดีเด่น” เป็นรางวัลที่แสดงให้เห็นถึงกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต มีการพัฒนาและผลลัพธ์การดำเนินงานสอดคล้องตามมาตราฐานทั้ง 6 หมวด อย่างต่อเนื่องและเป็นต้นแบบให้หน่วยงานอื่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ นอกจากนี้ยังได้รับ รางวัลบริการภาครัฐ ประเภทนวัตกรรมการบริการ “ระดับดี” จากผลงาน “นวัตกรรมชุดทดสอบอิมมูโนโครมาโตกราฟีสำหรับตรวจพาราควอตตกค้างในผักและผลไม้” เป็นนวัตกรรมที่สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และสถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ร่วมกันวิจัยพัฒนาคิดค้นวิธีการวิเคราะห์ทางอิมมูโนโครมาโตกราฟี (Immunochromatography) หรือ IC ใช้หลักการจับกันระหว่างแอนติบอดี และแอนติเจนแบบแข่งขัน (Competitive immunoassay) มีประสิทธิภาพสูงมีความจำเพาะเจาะจง 100% ความไว 92.5% ความแม่นยำ 95% ความเที่ยง 100% และมีเกณฑ์การวัดขั้นต่ำสุดที่สามารถตรวจพบได้ที่ 0.005 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (mg/kg) ไม่ต้องใช้เครื่องพิเศษเพิ่มเติม ใช้งานง่าย ประชาชนทั่วไปสามารถทำได้เองและจดทะเบียนอนุสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเลขที่ 2303000180 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566 ปัจจุบันได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต นวัตกรรมดังกล่าว ให้ภาคเอกชนนำไปผลิตจำหน่าย ช่วยให้ประชาชนและหน่วยงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคได้เข้าถึงชุดทดสอบนี้ได้ง่ายขึ้นในราคาที่เหมาะสม