รพ.เมตตาฯ ระวังภัย !โรคตาที่มากับน้ำท่วมขัง
- กรมการแพทย์
- 0 View
- อ่านต่อ
วันนี้ (30 สิงหาคม 2567) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ดูแลสุขภาพและช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดสุโขทัย ณ องค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัย จึงมอบหมายให้ นายแพทย์เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย พร้อมทีม SEhRT ส่วนกลาง และศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก ปฏิบัติภารกิจการจัดการสุขาภิบาลพื้นฐานและอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชน และศูนย์ช่วยเหลือประชาชนในชุมชนที่ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดสุโขทัย พร้อมสาธิตให้ความรู้คำแนะนำการดูแลสุขอนามัยเพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพ
นายแพทย์เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ประชาชนหลายพื้นที่ต้องประสบภัยน้ำท่วมอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงมอบหมายทีม SEhRT ส่วนกลางและศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก สนับสนุนภารกิจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในการดูแล ปกป้อง คุ้มครองสุขภาพประชาชนจากภัยน้ำท่วม ด้วยการจัดการสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี และดำเนินการลดความเสี่ยงด้านสุขภาพจากปัญหาทางสุขาภิบาลในศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เช่น การตรวจประเมินคุณภาพน้ำดื่มน้ำใช้ ตรวจประเมินการปนเปื้อนเชื้อโรคในอาหาร การจัดการส้วมและขยะมูลฝอย นอกจากนี้ กรมอนามัยยังได้มีการสื่อสารให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการดูแลสุขอนามัยที่ดีในช่วงน้ำท่วม เช่น การส่งเสริมการล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาด หรือใช้แอลกอฮอล์ล้างมือทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ การเลือกกินอาหารปรุงสุกใหม่ เพื่อป้องกันโรคระบาดและโรคติดเชื้อจากอาหารบูดเน่าหรือเสีย อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเฝ้าระวังความเสี่ยงเชื้อโรคที่มากับน้ำท่วม รองอธิบดีกรมอนามัยสั่งการทีม SEhRT สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ชุดทดสอบการปนเปื้อนเชื้อโรคและชุดปรับปรุงคุณภาพน้ำ และการจัดการสิ่งปฏิกูลสำหรับทีมระดับจังหวัด ชุดเราสะอาด V-Clean 168 ชุด ชุด Sanitation Toolkit 100 ชุด ส้วมกระดาษ30 ชุด ยาสามัญประจำบ้าน 250 ชุด ชุดช่วยเหลือผู้ประสบภัย 200 ชุด ชุดทดสอบคลอรีนอิสระ (อ31) 40 ชุดและรองเท้าบูท 7 คู่
“สำหรับประชาชนที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้ขอให้หมั่นสังเกตความเสี่ยงใกล้ตัว และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทางสุขภาพที่มากับน้ำ ทั้งความสกปรก เชื้อโรค สัตว์มีพิษ แมลงนำโรคต่าง ๆ โดยหาทางป้องกันตนเองและคนในครอบครัว เพื่อไม่ให้ต้องประสบความเสี่ยงและอันตรายดังกล่าว และสามารถอยู่ในช่วงน้ำท่วมได้อย่างปลอดโรค ปลอดภัย และหากพื้นที่ใดระดับน้ำเริ่มลดลง เข้าสู่ช่วงฟื้นฟูสภาพหลังน้ำท่วม เริ่มทำความสะอาดบ้าน เก็บสิ่งสกปรกไปกำจัดทิ้ง ต้องไม่ลืมการป้องกันตัวเองในขณะทำความสะอาด เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย และระวังสัตว์มีพิษที่อาจจะซ่อนตัวอยู่ในซากสิ่งสกปรกที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
***
กรมอนามัย / 30 สิงหาคม 2567