ฟิลเลอร์ ฉีดอย่างไรให้ปลอดภัย
- กรมการแพทย์
- 17 View
- อ่านต่อ
วันนี้ (19 มิถุนายน 2567) ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น กรุงเทพมหานคร แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัย เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการทันตสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 10 พ.ศ. 2567
ภายใต้แนวคิด 80:20 เป้าหมายสุขภาพช่องปากที่ท้าทาย เพื่อของคนไทย โดยมี ดร. นายแพทย์ปองพล วรปาณิ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวรายงาน
แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากสถานการณ์สุขภาพช่องปากของคนไทย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ พบว่า ปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ คือ โรคฟันผุ และเหงือกอักเสบเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการสูญเสียฟัน ซึ่งการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ มีความสำคัญ เพราะปัญหาสุขภาพภายในช่องปากของผู้สูงอายุ อาจส่งผลต่อสุขภาพกายและใจ เช่น ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารแย่ลง ทำให้รับประทานอาหารได้น้อย ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นเพียงพอ ส่งผลเสียให้สุขภาพร่างกายแย่ลงในระยะยาว และลดทอนความมั่นใจ จะเห็นได้ว่าเพียงแค่หนึ่งปัญหาอาจลุกลามเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สูงอายุและลูกหลาน หรือผู้ดูแล ควรหมั่นคอยสังเกต และไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจช่องปากและดูแลรักษาฟันอย่างสม่ำเสมอ
“กรมอนามัย โดยสำนักทันตสาธารณสุข จึงได้จัดการประชุมวิชาการทันตสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 10 พ.ศ. 2567 ภายใต้แนวคิด 80:20 เป้าหมายสุขภาพช่องปากที่ท้าทาย เพื่อของคนไทย หรือ “80:20 A Challenge for Better Oral Health and Quality of Life” เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ที่เน้นความสำคัญของการปรับแนวคิด และกระบวนการทำงานให้สอดรับกับเป้าหมายการส่งเสริมสุขภาพช่องปากตลอดช่วงวัย นำไปสู่ผลลัพธ์ปลายทาง 80:20 หรืออายุ 80 ปี มีฟันใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ ซึ่งจะส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะมิติสุขภาพช่องปาก รวมถึงเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิชาการเชิงรูปแบบและนวัตกรรมด้านทันตสาธารณสุขทุกช่วงวัย จำนวน 33 เรื่อง” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
แพทย์หญิงอัจฉรา กล่าวในตอนท้ายว่า กรมอนามัยยังมีพิธีรับมอบวุ้นชุ่มปาก ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในช่องปากจากมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งการสร้างนวัตกรรมในครั้งนี้เป็นการปรุงสูตรเฉพาะของผลิตภัณฑ์มูลนิธิพัฒนาสูตรน้ำลายเทียม โดยปรับจากสูตรที่มีในท้องตลาดให้มีความเหมาะสมเฉพาะตัว และประเมินคุณสมบัติของน้ำลายเทียม เพื่อใช้สำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะปากแห้งน้ำลายน้อย มีที่มาจากการที่ไม่มีสูตรน้ำลายเทียมที่เป็นที่ยอมรับในประเทศไทย มีเพียงแต่การผลิตและใช้ในหน่วยงานเท่านั้น ซึ่งน้ำลายเทียมสูตรใหม่มีค่าคุณสมบัติใกล้เคียงน้ำลายปกติ และมีความคงสภาพในระยะเวลาและอุณภูมิในการจัดเก็บได้มีมาตรฐานความปลอดภัย เหมาะสมสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะปากแห้งน้ำลายน้อย พัฒนาต่อโดยการทดสอบกับกลุ่มผู้ป่วยในคลินิก ประเมินประสิทธิผลและความพึงพอใจ ต่อยอด ด้านบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และแจกจำหน่ายในราคาย่อมเยาว์ พร้อมเผยแพร่สูตรเพื่อให้โรงพยาบาลชุมชนผลิตและใช้งาน อีกทั้ง มีการมอบรางวัลให้แก่ภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มวัยและประเด็นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการพัฒนาความร่วมมือเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ผ่านการประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายงานทันตสาธารณสุข
***
กรมอนามัย / 19 มิถุนายน 2567