กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบผู้ประกอบการเครื่องสำอางไทย สร้างเครือข่ายความร่วมมือ สนับสนุนการพัฒนาประเทศ ยกระดับวงการอุตสาหกรรมเครื่องสำอางให้ก้าวสู่มาตรฐานสากล
- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
- 46 View
- อ่านต่อ
เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธาน เปิดการอบรม “การจัดทำค่าปริมาณรังสีอ้างอิง และเฝ้าระวังการใช้รังสีจากการถ่ายภาพรังสี ด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านมระบบ 3 มิติ” และได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาบรรยายในหัวข้อต่างๆ ดังนี้ แพทย์หญิงจิรารัตน์ จิรารยะพงศ์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์ บรรยายในหัวข้อ “Diagnostic Performance of Digital Breast Tomosynthesis” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภาพงษ์ พงษ์นภางค์ ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายในหัวข้อ “Quality Control and Quality Assurance in Digital Breast Tomosynthesis” โดยมี นายยุทธนา บางม่วง รองผู้อำนวยการสำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ เป็นผู้กล่าวรายงาน และมีบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านรังสีวินิจฉัยเกี่ยวกับเครื่องเอกซเรย์เต้านมในสถานพยาบาลภาครัฐ ประกอบด้วย โรงพยาบาลวิทยาลัยแพทย์ จำนวน 16 แห่ง โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ และกรุงเทพมหานคร 38 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 37 แห่ง บุคลากรจากสำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 15 แห่งทั่วประเทศ เข้าร่วมอบรมจำนวนทั้งสิ้น 180 คน ณ โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์น นาดา ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
นายแพทย์ปิยะ กล่าวว่า ประเทศไทยนำเครื่องเอกซเรย์เต้านมมาใช้งานเพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมหรือโรคที่เกิดจาก ความผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ภายในต่อมน้ำนมมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเครื่องเอกซเรย์เต้านมได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการวินิจฉัยโรค ให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยมีเทคนิคการถ่ายภาพรังสีด้วยเทคนิคการถ่ายภาพแบบ 3 มิติ (Tomosynthesis) ซึ่งให้รายละเลียด ของภาพมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยในการรักษาที่ถูกต้อง แม่นยำ และลดการถ่ายภาพรังสีซ้ำ แต่อย่างไรก็ตามเทคนิคการถ่ายภาพรังสีด้วยเทคนิค 3 มิตินี้จะต้องใช้ปริมาณรังสีที่สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีที่สูงกว่าการถ่ายภาพรังสีแบบ 2 มิติ
ดังนั้น เพื่อให้การถ่ายภาพรังสีด้วยเทคนิคการถ่ายภาพแบบ 3 มิติ ในผู้ป่วยได้รับประโยชน์มากกว่าผลกระทบที่เกิดจากปริมาณรังสีที่สูงหรือน้อยเกินไป จนทำให้เกิดการถ่ายภาพรังสีซ้ำ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 15 แห่งทั่วประเทศ จึงจัดทำค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของการถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมแบบ 3 มิติ เพื่อเป็นค่าอ้างอิง ให้แก่ สถานพยาบาลในการใช้ควบคุมปริมาณรังสีให้เหมาะสม คุ้มค่า และเป็นไปตามพันธกิจของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในการกำหนดมาตรฐานและพัฒนาห้องปฏิบัติการ เป็นศูนย์กลางข้อมูลและสาธารณสุข ในฐานะห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านรังสีและเครื่องมือแพทย์ ของประเทศ
นายแพทย์ปิยะ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับการอบรมในครั้งนี้ เพื่อให้สถานพยาบาลหรือหน่วยงานที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยเต้านม โดย เครื่องเอกซเรย์เต้านม สามารถนำค่าปริมาณรังสีอ้างอิง (DRLs) ไปใช้เปรียบเทียบค่ากับค่าปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์จากรังสีให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นแนวทางการปรับลดปริมาณรังสีที่ไม่จำเป็น ได้อย่างเหมาะสม มีความปลอดภัย เพื่อไม่ไห้มีการใช้ปริมาณรังสีกับผู้ป่วยสูงเกินไป พร้อมทั้งให้ได้ภาพถ่ายทางรังสีที่มีคุณภาพ สามารถนำไปวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้เป็นค่าทบทวนกระบวนงาน เพื่อพัฒนาการถ่ายภาพรังสีเต้านม ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้งานเครื่องเอกซเรย์เต้านมจะต้องทราบถึงความสำคัญ ขั้นตอนการเก็บข้อมูลค่าเทคนิค วิธีการคำนวณ และการนำค่าที่ได้ไปใช้งาน วิเคราะห์ทางสถิติ ในทิศทางที่เป็นความรู้ ความเข้าใจในการเก็บข้อมูลให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน เพื่อลดความผิดพลาดของข้อมูล ลดปัญหาข้อมูลที่ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ผลได้ และจัดทำค่าปริมาณรังสีของเครื่องเอกซเรย์เต้านมได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ สถานพยาบาลหรือหน่วยงานที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยเต้านมโดยเครื่องเอกซเรย์เต้านม สามารถดูรายละเอียดหรือสอบถามได้ที่ สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ โทรศัพท์ 02951 0000 ต่อ 99854 มือถือ 08 0048 7365 หรือที่เว็บไซต์ https://radiation.dmsc.moph.go.th/
*************** 25 มกราคม 2567