5 ทศวรรษ อย. บนเส้นทางคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ พร้อมเดินหน้าพัฒนาทุกมิติ ขับเคลื่อนระบบสุขภาพไทยให้มั่นคงและยั่งยืน
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- 46 View
- อ่านต่อ
วันนี้ (28 กุมภาพันธ์ 2566) ที่ห้องประชุมคอนเวนชั่น ฮอลล์ โรงแรมท็อปแลนด์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานเปิดการอบรม “โครงการบูรณาการขับเคลื่อนเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและแจ้งเตือนภัย เขตสุขภาพที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” โดยมี นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นางสาวอมรรัตน์ ทัศนกิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก นายแพทย์ไกรสุข เพชระบูรณิน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก ดร. นายแพทย์ปองพล วรปาณิ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก นายแพทย์เชาวกิจ ศรีเมืองวงศ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ รพ.พุทธชินราช ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการเขตสุขภาพที่ 2 สาธารณสุขอำเภอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตสุขภาพที่ 2 จาก จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์และตาก เข้าร่วมงาน และมีพิธีมอบโล่อำเภอต้นแบบ แก่ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก และ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย มอบเข็ม ATK และ ชุดทดสอบ Test Kann แก่ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก มอบปลอกแขน อสม. นักวิทย์ฯ และประกาศนียบัตร แก่สาธารณสุขอำเภอ และตัวแทน อสม.
นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวว่า จากสถานการณ์การบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยของคนไทย เกิดผลกระทบทางสุขภาพ และสร้างความเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาล โดยในปัจจุบันมีสินค้าจำนวนมาก จำหน่ายตามร้านค้าออนไลน์ ร้านชำ ขายตรง ร้านสะดวกซื้อในชุมชน กระทรวงสาธารณสุข จึงมีนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ในการส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ สร้างความเข้มแข็งในระบบสุขภาพให้กับประชาชน
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีการพัฒนาศักยภาพ อสม. เป็น อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ในทั่วทุกภูมิภาค เพื่อคัดกรองผลิตภัณฑ์ ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น และเฝ้าระวังโรค แจ้งเตือนภัยสุขภาพในชุมชน
สำหรับในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก มีการพัฒนาศักยภาพ อสม. เป็น อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ในพื้นที่พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก สุโขทัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 ในปัจจุบันมี อสม. วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ซึ่งผ่านการอบรมตามหลักสูตรของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวนรวมทั้งสิ้น 2,395 คน โดยมีกลไกลการทำงานเพื่อช่วยขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภค เฝ้าระวัง และสามารถใช้ชุดตรวจคัดกรองความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์สุขภาพคัดกรองผลิตภัณฑ์สุขภาพกลุ่มเสี่ยง รวมถึงสื่อสารแจ้งเตือนภัยสุขภาพ ในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวต่อว่า การพัฒนาศักยภาพ อสม. เป็น อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน และเจ้าหน้าที่ พี่เลี้ยงในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2 มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสร้างเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและแจ้งเตือนภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยในชุมชน และสนับสนุนให้มีศูนย์แจ้งเตือนภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ครอบคลุม ระดับอำเภอ จังหวัด โดยความร่วมมือจากเครือข่ายทุกภาคส่วน ในการควบคุมป้องกันโรคและแจ้งเตือนภัยสุขภาพ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก จึงได้จัดการอบรมเครือข่ายโดยแบ่งกลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และเทศบาลนครพิษณุโลก โดยมีกิจกรรมการรับฟังแนวทางการจัดการเชิงระบบและการเสวนาด้านบทบาทและความร่วมมือด้านการขับเคลื่อนงานร่วมกัน และกลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ อสม. มีการบรรยายให้ความรู้ ความเข้าใจ ในลักษณะ วิธีการใช้ การแปลผล ชุดตรวจหาสารห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์สุขภาพ ด้านยา สมุนไพร อาหาร และเครื่องสำอาง การฝึกปฏิบัติของ อสม. และเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยง ให้ทดลองถ่ายทอดความรู้และเป็นพี่เลี้ยงการใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นด้วยตนเอง ให้สามารถไปปฏิบัติงานในชุมชนและพื้นที่รับผิดชอบได้อย่างถูกต้อง
“การจัดอบรมในครั้งนี้ มุ่งหวังให้ อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน สามารถนำเอาความรู้ ไปถ่ายทอดแนะนำให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่ ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในอันตราย และการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยในชุมชนของตนเอง สร้างข่ายเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และแจ้งเตือนภัยสุขภาพในชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อสนับสนุนการค้นหา และคัดกรองผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยได้อย่างรวดเร็ว ถือเป็นกำลังสำคัญในการทำงานด้านสาธารณสุขในชุมชนต่อไป” นายแพทย์ศุภกิจ กล่าว
************** 28 กุมภาพันธ์ 2566