บทความสุขภาพ

พิมพ์

เป้าหมายการบริหารจัดการ “วัคซีนโควิด-19” ในประเทศไทย


ในช่วงที่สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ยังมีอยู่ต่อเนื่องพร้อมกับความพยายามในการบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19 ด้วยนโยบายที่ต้องการให้ทุกคนในประเทศไทย เข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพ ปลอดภัย มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ดังนั้นเป้าหมายการให้วัคซีนโควิด-19 มีดังนี้

  1. เพื่อลดอัตราการป่วยและตาย กลุ่มเป้าหมายคือ ประชาชนกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยรุนแรงและ

เสียชีวิต ได้แก่ ประชากรที่มีอายุมากกว่า 60ปี และผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง

  1. เพื่อปกป้องระบบสุขภาพของประเทศ กลุ่มเป้าหมายคือ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่าน

หน้า ทั้งภาครัฐและเอกชน และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 ที่มีโอกาสสัมผัสกับผู้ป่วยในงาน

  1. เพื่อขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ กลุ่มเป้าหมายคือประชาชนทั่วไป แรงงานใน

ภาคธุรกิจบริการ ท่องเที่ยว อุตสาหกรรม (กรณีที่เป็นแรงงานต่างชาติจะเป็นการร่วมจ่ายโดยเจ้าของกิจการ)

กลุ่มเป้าหมายการให้วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 เมื่อมีวัคซีนปริมาณจำกัด

กลุ่มเป้าหมาย คือ

ระยะที่ 2 เมื่อมีวัคซีนมากขึ้นและเพียงพอ กลุ่มเป้าหมาย คือ

1. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานด่านหน้าทั้ง

    ภาครัฐและเอกชน

2. บุคคลที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง

    เช่นปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี โรคหัวใจและ

    หลอดเลือด โรคไตเรื้อรังที่อยู่ในระยะ 5 ขึ้นไป (ไตวายเรื้อรัง)โรค

    หลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างรักษาด้วยเคมีบำบัด

    รังสีบำบัดและภูมิคุ้มกันบำบัด โรคเบาหวาน และโรคอ้วนที่มีน้ำหนัก

    มากกว่า 100  กิโลกรัมหรือ BMI>35กิโลกรัมต่อตารางเมตร

3. กลุ่มผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป **จะยังไม่ฉีดในกลุ่มผู้มีอายุตั้งแต่ 60

    ปีขึ้นไป ตามเงื่อนไขของวัคซีน

4. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโควิด ที่มีโอกาสสัมผัสกับผู้ป่วย    

    โควิด เช่น ทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ณ ช่องทางเข้าออก

    ระหว่างประเทศ

1. กลุ่มเป้าหมายในระยะที่ 1

2. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่น ๆ

   ที่นอกเหนือจากด่านหน้า

3. ผู้ประกอบอาชีพภาคการท่องเที่ยวเช่น

   พนักงานโรงแรม สถานบันเทิง  มัคคุเทศก์

   นักกีฬา

4. ผู้ประกอบอาชีพระหว่างประเทศ เช่นนักบิน/

   ลูกเรือ นักธุรกิจระหว่างประเทศ

5. ประชาชนทั่วไป

6. นักการทูต เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ

   นักธุรกิจต่างชาติ  คนต่างชาติพำนักระยะยาว

7. แรงงานในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ

 

อย่างไรก็ตามในช่วงที่มีวัคซีนจำนวนจำกัดยังไม่มีการฉีดเป็นวงกว้างขอให้ประชาชนป้องกันตนเอง 

D-M-H-T-T คือ เว้นระยะห่าง-สวมหน้ากากทุกครั้ง-ล้างมือบ่อยๆ-ตรวจเร็วควบคุมไว-ไปไหนสแกนไทยชนะ

 

แหล่งข้อมูล  : คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ และคณะกรรมการ

                  โรคติดต่อแห่งชาติ , กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

วันที่            :   5   มีนาคม 2564



จากหน่วยงาน : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดดู 698 view
วันที่ประกาศข่าว : 5 มีนาคม 2564 เวลา 11:04 น.