บทความสุขภาพ

พิมพ์

กินเร็วเกินไปทำให้กินมากขึ้น เสี่ยงโรคอ้วนและโรคเรื้อรัง


       สถานการณ์ปัจจุบันที่มีข่าวการแพร่ระบาดเรื่องโควิด-19 หรือ ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 จนทำให้หลายคนเกิดภาวะความเครียดวิตกกังวล และต้องหันไปผ่อนคลายความเครียด ความกังวลจากการรับข่าวสารต่าง ๆ ด้วยการกิน  ไม่ว่าจะกินจุกจิก หรือกินมื้อหนัก เช่น กินบุฟเฟ่ต์ หมูกระทะที่จำกัดเวลา ทำให้ต้องกินเร็วและกินมากเกินไป (Overeating) ประกอบกับสังคมปัจจุบันการทำกิจกรรมต่าง ๆ ต้องอาศัยความเร่งรีบ ขณะที่การกินอาหารน่าจะเป็นเวลาที่ควรผ่อนคลายและมีความสุข ผลเสียของการกินเร็วทำให้ได้รับปริมาณอาหารมากเกินไป เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุก เสียด อาหารไม่ย่อยแล้ว ยังเสี่ยงเกิดโรคอ้วนและโรคเรื้อรังตามมา ดังตารางเปรียบเทียบ ข้อดีข้อเสียของการกินเร็ว และ การกินช้า ดังนี้

ตารางเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการกินเร็วและการกินช้าที่เกิดกับร่างกาย

การกินเร็ว

การกินช้า

ข้อดี

-

ข้อเสีย

1.เกิดโรคอ้วนลงพุง (Central Obesity) Metabolic Syndromeเกิดความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันสูง

2.เสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจขาดเลือดและโรคหัวใจมากกว่าการสูบบุหรี่

3.มีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าคนที่กินปกติถึง 2.5 เท่า

4.สมองจะได้รับสัญญาณจากกระเพาะอาหารและลำไส้สั่งการให้ร่างกายรู้สึกอิ่มใช้เวลานานกว่า 20 นาที ซึ่งทำให้คนกินเร็วสมองจะสั่งการไม่ทันมักจะกินหมดก่อนที่จะรู้สึกอิ่มทำให้กินไปเรื่อยๆ

ข้อดี

1.ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนที่จะนำมาซึ่งโรคเรื้อรังต่าง ๆ ตามมามากมาย

2.เมื่อเรากินอาหารช้าลง การสั่งการจากสมองจะเกิดขึ้นขณะที่เรากินจึงทำให้เราอิ่มก่อนที่จะกินมากเกินไป  

3.การกินอาหารจึงควรใช้เวลา อย่างน้อย 20-30 นาทีเพื่อให้สมองสั่งการรู้สึกอิ่ม

3.การกินช้า ๆ และเคี้ยวอาหารให้ละเอียดจะช่วย        ทําให้ระบบย่อยอาหารทํางานได้ดีขึ้น

4.ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปยังกระเพาะอาหาร และลําไส้

5.ช่วยทําให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรีได้เพิ่มขึ้น

6.การกินอย่างช้า ๆ และให้ความสนใจกับอาหารที่กินอยู่เป็นการฝึกให้มีสติกับสิ่งที่กำลังทำ

7.การกินช้าสามารถช่วยลดความเครียดจาก           การทํางาน และชีวิตประจำวัน

ข้อเสีย

-

       
 

     ดังนั้นหากเรากินอย่างมีสติ และเน้นการออกกำลังกายเป็นประจำน่าจะเป็นทางออกสำคัญที่ทำให้ร่างกายของเราสมดุลไม่เป็นคนที่อ้วนหรือผอมเกินไปเพื่อสุขภาพดีที่ห่างไกลโรคอ้วนและโรคเรื้อรัง    

แหล่งข้อมูล :  รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จิรภรณ์ อังวิทยาธร ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่         : 28 ธันวาคม 2563



จากหน่วยงาน : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดดู 615 view
วันที่ประกาศข่าว : 19 มกราคม 2564 เวลา 16:00 น.