ข่าวในรั้ว สธ.

พิมพ์

อย. ห่วงใย แนะเลือกซื้อปลาหมึกแห้งจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เพื่อความปลอดภัย


         กรณีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเผยผลตรวจสอบปลาหมึกแห้งพบการปนเปื้อนของแคดเมียม อย. ร่วมกับ สสจ. เข้าตรวจสอบและเก็บตัวอย่าง               ผลิตภัณฑ์แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลตรวจวิเคราะห์ แนะผู้บริโภคซื้อปลาหมึกแห้งจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เพื่อความปลอดภัย

         นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้เผยผลการตรวจสอบ       ปลาหมึกแห้ง จำนวน 13 ตัวอย่าง พบ 7 ตัวอย่าง มีการปนเปื้อนของแคดเมียมในปริมาณ 2.003, 2.393, 2.537, 3.006, 3.303, 3.432 และ           3.872 มก./กก. ตามลำดับ นั้น อย. ขอชี้แจงว่า แคดเมียมเป็นโลหะหนักที่พบปนเปื้อนได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมทั้งดิน และน้ำ จึงพบการปนเปื้อน       ในปลาหมึกซึ่งเป็นสาเหตุของการปนเปื้อนโดยไม่ตั้งใจและหลีกเลี่ยงได้ยาก ด้วยเหตุนี้ อย. จึงออกประกาศ สธ. ว่าด้วยเรื่อง มาตรฐานอาหารที่   มีสารปนเปื้อน โดยกำหนดปริมาณการปนเปื้อนสูงสุดของแคดเมียมในปลาหมึกสดได้ไม่เกิน 2 มก./กก. (น้ำหนักเปียก) ซึ่งคำนวณเป็นปริ               มาณการปนเปื้อนในปลาหมึกแห้งได้ไม่เกิน 4.88 มก./กก. (น้ำหนักแห้ง)

        ทั้งนี้ อย. ได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเข้าตรวจสอบและเก็บตัวอย่าง ณ สถานที่จำหน่ายแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างส่งตรวจวิเคราะห์ที่       กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หากได้รับรายงานผลการตรวจ ทาง อย. จะแจ้งให้ผู้บริโภคทราบต่อไป อย่างไรก็ดี อย. ได้มีการเฝ้าระวัง ตรวจสอบ       ติดตามคุณภาพของปลาหมึกแห้งและปลาหมึกสดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหากตรวจพบผลิตภัณฑ์อาหารมีปริมาณโลหะหนักเกินมาตรฐานกำหนด         จะมีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท และหากตรวจพบการปนเปื้อนโลหะหนักในปริมาณที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค จะมีโทษจำ       คุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

       รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า อย. ขอให้ผู้บริโภคเลือกซื้อปลาหมึกแห้งจากสถานที่จำหน่าย (ตลาด/ร้านค้า) ที่สะอาดและน่า           เชื่อถือ สามารถหาให้ข้อมูลแหล่งที่มาของสินค้านั้นได้ และควรบริโภคปลาหมึกแห้งอย่างพอเหมาะ ไม่บ่อยครั้งจนเกินไป เนื่องจากปลาหมึก        แห้งเป็นอาหารที่มีโคเลสเตอรอล และโซเดียมค่อนข้างสูง หากบริโภคมากเกินเป็นประจำ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้       ที่สำคัญควรรับประทานอาหารให้หลากหลายในปริมาณที่พอเหมาะ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง หากผู้บริโภคพบเห็น         ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค สามารถร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือ                  E-mail:1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart                       Application หรือ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะดําเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ที่กระทําผิดต่อไป

****************************

วันที่เผยแพร่ข่าว  11  สิงหาคม 2563 ข่าวแจก 125 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563



จากหน่วยงาน : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เปิดดู 943 view
วันที่ประกาศข่าว : 11 สิงหาคม 2563 เวลา 17:45 น.